เรื่องของเท้าที่ไม่ควรก้าวข้าม
เชื่อมั้ยว่า 70% ของประชากรโลกมีอาการเสี่ยงต่อปัญหาปวดส้นเท้า เข่า และกระดูกสันหลัง โดยสาเหตุจากความผิดปกติของเท้า
Last Update : 16/11/2013 13:36:11
ภาวะมะเร็งเข้ากระดูก
โดยปกติจะเริ่มตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆ เลยในระยะแรก ต่อมาจะเริ่มปวดนิดๆ และปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กระดูก ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกปวดมากจนทนไม่ไหวและไปพบแพทย์ เมื่อถึงช่วงนั้นความรุนแรงของภาวะมะเร็งเข้ากระดูกก็มีสูง หากเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคคือ ขั้นที่ 4 ซึ่งยากต่อการรักษาให้หาย
Last Update : 16/11/2013 10:37:21
การบริหารส่วนขาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นต้องมีการปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบหมุนเวียนเลือดของขา และเท้าโดยการออกกำลังกายเป็นประจำ และการอดบุหรี่ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
Last Update : 08/11/2013 13:54:10
ผู้หญิง..วัยหมดประจำเดือนระวังเข่าเสื่อม!!
มื่ออายุมากขึ้นร่างกายย่อมเสื่อมโทรมไปตามวัยเป็นธรรมดา โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องผจญกับโรคภัยทางสุขภาพของสตรี
Last Update : 08/11/2013 10:39:35
การปฐมพยาบาล ข้อ, กระดูก
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆ หรือเจ็บป่วยกระทันหัน ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้พ้นอันตราย ก่อนที่จะส่งไปให้แพทย์รักษาต่อไป โดยใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือเท่าที่หาได้ในขณะนั้น
Last Update : 07/11/2013 15:05:44
ผ้าฟองน้ำทำความสะอาดอเนกประสงค์
Brand : Spa Wet
Model : Spa Wet
Last Update : 10:38:35 10/12/2014
ชุดกิ๊ฟเซ็ทคลีนชูส์
Brand : KLEEN SHOES
Model : gift set kleen shoes
Last Update : 13:15:42 28/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส(หัวเข่า)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plus (knee)
Last Update : 16:21:11 27/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส (ข้อเท้า)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plus (ankle)
Last Update : 16:19:30 27/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส (ข้อศอก)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plush (elbow)
Last Update : 16:17:45 27/11/2014

ผู้หญิง..วัยหมดประจำเดือนระวังเข่าเสื่อม!!

Last Update : 10:39:35 08/11/2013
Page View (2176)


     **มื่ออายุมากขึ้นร่างกายย่อมเสื่อมโทรมไปตามวัยเป็นธรรมดา โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องผจญกับโรคภัยทางสุขภาพของสตรี 

   นอกจากนี้พบว่า ผู้หญิงยังมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกข้อเข่าผุกร่อนเสื่อมทรุดฉีกขาดมากกว่าผู้ชายอีกด้วย เนื่องจากผู้หญิงมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในหญิงหลังหมดประจำเดือน รวมถึงอิริยาบทในแบบฉบับเฉพาะของผู้หญิงที่อาจส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติโดยไม่รู้ตัว

   “ข้อเข่าเสื่อม” เป็นภาวะที่กระดูกอ่อนของข้อเข่าสึกหรอ ฉีกขาด จนไม่สามารถหล่อลื่นข้อเข่าให้ใช้งานเป็นปกติได้ บางครั้งอาจจะมีหมอนรองกระดูกฉีกขาดร่วมด้วย เมื่อกระดูกอ่อนสึกหรอจนถึงกระดูกแข็ง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่าเวลาลงน้ำหนักเข่าขณะเดิน หรือขึ้นลงบันได



   ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมที่สำคัญ ได้แก่ การมีน้ำหนักตัวมาก จะทำให้ข้อเข่าต้องทำงานหนักเกิดการสึกหรอได้เร็ว หรือผู้มีอาชีพที่ต้องใช้ข้อมากกว่าคนปกติและมีการใช้งานของข้อซ้ำๆ รวมทั้งมีแรงกดที่ข้อมาก และเป็นเวลานาน เช่น ผู้ที่ทำงานแบกหาม นักกีฬาที่ต้องมีการกระโดดบ่อยๆ พนักงานขายของในห้างสรรพสินค้า แม่บ้าน รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ข้อแบบผิดๆ เช่น นั่งพับเพียบนานๆ นั่งยองๆ นั่งคุกเข่า ผู้ที่ชอบอยู่ในท่างอข้อเข่าเป็นเวลานาน หรือผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงมากๆเป็นเวลานาน เดินขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ และการใช้ส้วมแบบนั่งยองๆ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะข้อเสื่อมได้


 

     การรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อม

   แนวทางการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมเริ่มตั้งแต่การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา คือ การปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นอันตรายต่อข้อเข่า เช่น การนั่งพับเพียบ หรือนัดขัดสมาธิ การลดน้ำหนัก และการออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า และการทำกายภาพบำบัด แต่หากอาการปวดข้อเข่ายังไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาซึ่งมีอยู่ 2 แนวทาง 

   1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

   เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก มีขาผิดรูปน้อย แพทย์จะให้รับประทานยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่ Steroid หรือการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า นอกจากนี้ การออกกำลังกาย การใช้ผ้ายืดพยุงเข่า หรือใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้ค้ำยัน และการทำกายภาพบำบัด สามารถบรรเทาอาการปวดได้

   2.การรักษาโดยการผ่าตัด

   การผ่าตัดจะทำในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่า ข้อเข่าของผู้ป่วยมีการเสื่อมค่อนข้างมาก และไม่สามารถรักษาโดยการใช้ยาหรือทำกายภาพบำบัดได้ ซึ่งการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดก็มีอยู่หลายวิธีตามสภาพและความรุนแรงของข้อเข่าที่เสื่อม เช่น การผ่าตัดโดยการส่องกล้องข้อเข่า การผ่าตัดผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน

   การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันก็มีวิธีผ่าตัดแบบแผลเล็ก โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์นำวิถีเข้ามาช่วยในการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดแม่นยำขึ้น ภาวะแทรกซ้อนลดลง ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น



     หมั่นดูแลข้อเข่า

   การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทันสมัยเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับความชำนาญและประสบการณ์ในการผ่าตัดข้อเข่าเทียมของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อผลของการผ่าตัด

   สิ่งสำคัญคือ ต้องรู้จักดูแลความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอและถูกวิธี จะช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูกที่แข็งแรง





 
© 2000-2008 CopyRight by M C I International Co., Ltd.
Tel. 02-223-5549  Fax. 02-225-1494
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login