เรื่องของเท้าที่ไม่ควรก้าวข้าม
เชื่อมั้ยว่า 70% ของประชากรโลกมีอาการเสี่ยงต่อปัญหาปวดส้นเท้า เข่า และกระดูกสันหลัง โดยสาเหตุจากความผิดปกติของเท้า
Last Update : 16/11/2013 13:36:11
ภาวะมะเร็งเข้ากระดูก
โดยปกติจะเริ่มตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆ เลยในระยะแรก ต่อมาจะเริ่มปวดนิดๆ และปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กระดูก ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกปวดมากจนทนไม่ไหวและไปพบแพทย์ เมื่อถึงช่วงนั้นความรุนแรงของภาวะมะเร็งเข้ากระดูกก็มีสูง หากเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคคือ ขั้นที่ 4 ซึ่งยากต่อการรักษาให้หาย
Last Update : 16/11/2013 10:37:21
การบริหารส่วนขาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นต้องมีการปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบหมุนเวียนเลือดของขา และเท้าโดยการออกกำลังกายเป็นประจำ และการอดบุหรี่ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
Last Update : 08/11/2013 13:54:10
ผู้หญิง..วัยหมดประจำเดือนระวังเข่าเสื่อม!!
มื่ออายุมากขึ้นร่างกายย่อมเสื่อมโทรมไปตามวัยเป็นธรรมดา โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องผจญกับโรคภัยทางสุขภาพของสตรี
Last Update : 08/11/2013 10:39:35
การปฐมพยาบาล ข้อ, กระดูก
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆ หรือเจ็บป่วยกระทันหัน ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้พ้นอันตราย ก่อนที่จะส่งไปให้แพทย์รักษาต่อไป โดยใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือเท่าที่หาได้ในขณะนั้น
Last Update : 07/11/2013 15:05:44
ผ้าฟองน้ำทำความสะอาดอเนกประสงค์
Brand : Spa Wet
Model : Spa Wet
Last Update : 10:38:35 10/12/2014
ชุดกิ๊ฟเซ็ทคลีนชูส์
Brand : KLEEN SHOES
Model : gift set kleen shoes
Last Update : 13:15:42 28/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส(หัวเข่า)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plus (knee)
Last Update : 16:21:11 27/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส (ข้อเท้า)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plus (ankle)
Last Update : 16:19:30 27/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส (ข้อศอก)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plush (elbow)
Last Update : 16:17:45 27/11/2014

การปฐมพยาบาล ข้อ, กระดูก

Last Update : 15:05:44 07/11/2013
Page View (2210)

 

     การปฐมพยาบาลผู้ที่มีข้อเคล็ด

   ข้อเคล็ด หมายถึง การที่ข้อต่าง ๆ ได้มีการเคลื่อนไหวมากเกินไป ทำให้เนื้อเยื่อหุ้มข้อ หรือเอ็นรอบๆข้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อบริเวณข้อมีการฉีกขาดหรือช้ำ สาเหตุข้อเคล็ดนั้น เกิดจากข้อต่อส่วนใหญ่เกิดกระทบกระเทือน ทำให้เยื่อหุ้มหรือเอ็นรอบ ๆ ข้อต่อเคล็ดหรือแพลง

   ข้อเคล็ด มีอาการบอกให้รู้ดังนี้

   บริเวณข้อส่วนนั้นจะบวม ช้ำ มีอาการเจ็บปวด ถ้าเคลื่อนไหวหรือใช้มือกดจะทำให้เจ็บมากขึ้น ในรายที่มีอาการรุนแรงจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย เพราะจะเจ็บปวดมาก มีอาการชาทั่วบริเวณข้อเคล็ด แสดงว่าเส้นประสาทส่วนนั้นเกิดฉีกขาดด้วย

     การปฐมพยาบาล

   ประคบด้วยน้ำเย็นหรือน้ำแข็งทันที และประคบหลายๆครั้งติดต่อกัน แต่ละครั้งนาน5-10 นาที และพัก 2-3 นาที เพื่อลดอาการปวด บวม และระหว่างพักให้สังเกตอาการบวมด้วย ถ้าอาการบวมไม่เพิ่มขึ้น ก็หยุดประคบเย็นได้ ถ้ายังมีอาการบวมอยู่ให้ประคบต่อจนครบ 24 ชั่วโมงแรก ให้บริเวณข้อนั้นอยู่นิ่ง โดยพันผ้ายืดและยกสูงไว้

   ภายหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว ถ้ายังมีอาการบวมให้ประคบด้วยน้ำร้อน หรือนวดด้วยยาหม่อง น้ำมันระกำ GPO ปาล์มฯลฯ ถ้ามีอาการปวดหรือบวมมาก ให้รีบไปพบแพทย์



     การปฐมพยาบาลผู้ที่มีข้อเคลื่อน

   ข้อเคลื่อน หมายถึง ภาวะที่ปลายกระดูก 2 ชิ้น ซึ่งประกอบกันเป็นข้อ เคลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งปกติ เป็นผลให้เยื่อหุ้มข้อ เอ็นหุ้มข้อ เส้นเลือด เส้นประสาทของข้อนั้นๆ เกิดการฉีกขาด มักเกิดจากมีแรงกระแทกจากภายนอกมากระทำที่ข้อนั้น หรือถูกกระชากที่ข้อนั้นอย่างรุนแรงฯลฯ

   ข้อเคลื่อน มีอาการบอกให้รู้ดังนี้ เคลื่อนไหวข้อไม่ได้ ข้อส่วนนั้นจะบวม ปวด รูปร่างของข้อผิดไปจากเดิม เช่น ถ้าเป็นที่ข้อสะโพก ขาข้างนั้นจะสั้นลง ถ้าข้อไหล่หลุด บริเวณหัวไหล่จะแฟบลง ถ้ามีอาการชา แสดงว่าเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณนั้นถูกทำลาย

     การปฐมพยาบาล

   ให้ข้อส่วนนั้นอยู่นิ่งที่สุด โดยการใช้ผ้าพัน ห้ามดึงข้อให้เข้าที่ ประคบด้วยความเย็น เพื่อลดอาการปวดและบวมลง รีบนำส่งโรงพยาบาล


 

     การปฐมพยาบาลผู้ที่มีกระดูกหัก

   กระดูกของคนเราอาจเกิดแตกหักได้ตลอดเวลา ถ้าไม่ระมัดระวังหรือไม่ป้องกันอันตราย เช่น การถูกกระแทกจากอุบัติเหตุต่างๆ การสะดุด การบิด หรือการกระชาก ลักษณะของกระดูกหักแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • หักออกจากกันเป็น 2 ส่วน อาจหักธรรมดาไม่มีบาดแผลหรือหักมีบาดแผล กระดูกแตกละเอียด จะมีอันตรายเมื่อมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หลอดเลือด เส้นประสาท หรือกระดูกที่หักแทงทะลุอวัยวะภายในที่สำคัญ
  • กระดูกหักไม่ขาดออกจากกัน มีลักษณะกระดูกร้าว กระดูกเดาะ หรือกระดูกบุบ ลักษณะอาการจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่กระดูกหัก อาการทั่ว ๆ ไป อาจมีอาการช็อก มีอาการบวม และร้อน ลักษณะกระดูกผิดรูปร่างไปจากเดิม เคลื่อนไหวไม่ได้ ถ้าจับดูจะมีเสียงกรอบแกรบ อาจมีบาดแผลที่ผิวหนังตรงตำแหน่งที่หัก หรือพบปลายกระดูกโผล่ออกมาให้เห็นชัดเจน


     การปฐมพยาบาล

   1. ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ ประคองและจับส่วนที่บาดเจ็บอย่างมั่นคง อย่าพยายามเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บโดยไม่จำเป็น หรือจนกว่าส่วนของกระดูกที่หักจะได้รับการเข้าเฝือกแล้ว

   2. ใส่เฝือกชั่วคราว โดยใช้วัสดุที่หาง่าย เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษแข็ง ไม้ไผ่ เป็นต้น ( ถ้าเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ เช่น กระดูกโคนขา อาจใช้ขาข้างดีเป็นตัวยึดก็ได้) และก่อนเข้าเฝือก ควรใช้ผ้าสะอาดพันส่วนที่หักให้หนาพอสมควร หรือทำการห้ามเลือดก่อน ถ้ามีเลือดออกมาก

   3. พันผ้ายืดไม่ให้เคลื่อนไหว ระวังอย่าพันให้แน่นจนเกินควร เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่ได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก ถ้าเป็นปลายแขน หรือมือ ใช้ผ้าคล้องคอ

   4. ถ้ากระดูกหักโผล่ออกมานอกเนื้อ อย่าดันกลับเข้าที่เดิมเด็ดขาด เพราะจะทำให้เชื้อโรคและสิ่งสกปรกจากภายนอกเข้าไปในแผลส่วนลึกได้ ให้หาผ้าสะอาดคลุม หรือปิดบาดแผลไว้

   5. ให้ยาแก้ปวดหากปวดแผลมาก เช่น พาราเซตะมอล และห่มผ้าให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

   6. รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ซึ่งการเคลื่อนย้ายผู้ที่บาดเจ็บต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยให้ส่วนที่หักเคลื่อนไหวน้อยที่สุด

 

     การปฐมพยาบาลผู้ที่เป็นตะคริว

   สาเหตุใหญ่ๆ ที่เป็นกันก็คือ

      1. เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยง เช่น ใช้ถุงเท้าที่รัดแน่นเกินไป หรือ อยู่ในที่อากาศเย็นจัด

     2. การขาดเกลือแร่บางอย่าง เช่น เกลือโซเดียม แคลเซียม ซึ่งเสียไปกับการหลั่งเหงื่อ

     3. จากการถูกกระทบกระแทก อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เช่น การทำลูกหนู

     4. การหดตัวอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อ เนื่องจากการออกกำลังกายมากเกินไป หรือการนั่ง นอน ยืน ในท่าที่ไม่ถนัด ตะคริวถ้าเป็นพร้อมกันหลาย ๆ แห่ง มักเกิดจากการขาดน้ำ อาหาร เกลือแร่ในกล้ามเนื้อ ซึ่งตะคริวที่เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อสามารถคลายออกได้ โดยการใช้กำลังยืดกล้ามเนื้อ ตามทิศทางการทำงานของกล้ามเนื้อ

   บริเวณกล้ามเนื้อที่พบว่าเป็นตะคริวได้บ่อยคือกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และกล้ามเนื้อหลัง แต่ที่คนส่วนใหญ่เป็นกันคือกล้ามเนื้อน่อง

 

     การปฐมพยาบาล 

   ปกติแล้วกล้ามเนื้อจะคลายตัวเองลง แต่เราก็มีวิธีช่วยให้คลายตัวได้เร็วขึ้น โดย

 

     1. ค่อยๆเหยียดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวให้ยืดออก ในรายที่เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อน่อง ซึ่งทำหน้าที่เหยียดปลายเท้า ขณะเป็นตะคริวจะหดเกร็ง และทำให้ปลายเท้าเหยียด การใช้กำลังดันปลายเท้าเข้าหาเข่าโดยค่อยๆ เพิ่มกำลังดันจะช่วยเหยียดกล้ามเนื้อน่องได้

     2. ใช้ความร้อนประคบหรือถูนวดเบา ๆ ด้วยยาหม่องหรือน้ำมันสโต๊ก ทำให้เลือดเลี้ยงมากขึ้น กล้ามเนื้อคลายและมีกำลังหดได้อีก

     3.ให้ความอบอุ่นแก่ผู้ที่เป็นตะคริว และให้น้ำผสมเกลือแกงดื่มเป็นระยะ ๆ จะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายการเกร็งได้ดีขึ้น

 

 

 




 
© 2000-2008 CopyRight by M C I International Co., Ltd.
Tel. 02-223-5549  Fax. 02-225-1494
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login