เรื่องของเท้าที่ไม่ควรก้าวข้าม
เชื่อมั้ยว่า 70% ของประชากรโลกมีอาการเสี่ยงต่อปัญหาปวดส้นเท้า เข่า และกระดูกสันหลัง โดยสาเหตุจากความผิดปกติของเท้า
Last Update : 16/11/2013 13:36:11
ภาวะมะเร็งเข้ากระดูก
โดยปกติจะเริ่มตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆ เลยในระยะแรก ต่อมาจะเริ่มปวดนิดๆ และปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กระดูก ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกปวดมากจนทนไม่ไหวและไปพบแพทย์ เมื่อถึงช่วงนั้นความรุนแรงของภาวะมะเร็งเข้ากระดูกก็มีสูง หากเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคคือ ขั้นที่ 4 ซึ่งยากต่อการรักษาให้หาย
Last Update : 16/11/2013 10:37:21
การบริหารส่วนขาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นต้องมีการปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบหมุนเวียนเลือดของขา และเท้าโดยการออกกำลังกายเป็นประจำ และการอดบุหรี่ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
Last Update : 08/11/2013 13:54:10
ผู้หญิง..วัยหมดประจำเดือนระวังเข่าเสื่อม!!
มื่ออายุมากขึ้นร่างกายย่อมเสื่อมโทรมไปตามวัยเป็นธรรมดา โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องผจญกับโรคภัยทางสุขภาพของสตรี
Last Update : 08/11/2013 10:39:35
การปฐมพยาบาล ข้อ, กระดูก
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆ หรือเจ็บป่วยกระทันหัน ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้พ้นอันตราย ก่อนที่จะส่งไปให้แพทย์รักษาต่อไป โดยใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือเท่าที่หาได้ในขณะนั้น
Last Update : 07/11/2013 15:05:44
ผ้าฟองน้ำทำความสะอาดอเนกประสงค์
Brand : Spa Wet
Model : Spa Wet
Last Update : 10:38:35 10/12/2014
ชุดกิ๊ฟเซ็ทคลีนชูส์
Brand : KLEEN SHOES
Model : gift set kleen shoes
Last Update : 13:15:42 28/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส(หัวเข่า)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plus (knee)
Last Update : 16:21:11 27/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส (ข้อเท้า)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plus (ankle)
Last Update : 16:19:30 27/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส (ข้อศอก)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plush (elbow)
Last Update : 16:17:45 27/11/2014

โรครองช้ำ เจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า

Last Update : 16:03:38 06/11/2013
Page View (2197)



     โรครองช้ำ เจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า

   การเจ็บส้นเท้าหรือผ่าเท้านั้นอาจจะมีได้จากหลายสาเหตุ สิ่งหนึ่งก็คือการเจ็บส้นเท้า/ผ่าเท้าที่เกิดจากเส็นเอ็นใต้ผ่าเท้าอักเสบหรือฉีกขาด



     สาเหตุของการเจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า

   เป็นการอักเสบของเส้นเอ็น (Plantar fascia) ที่เชื่อมต่อระหว่างส้นเท้ามาที่ส่วนโค้งถึงฝ่าเท้า

 

   ผู้ป่วยจะมีอาการปวดส้นเท้าตรงด้านล่างของเท้า โดยที่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ช่วงวัยกลางคนทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เนื่องจากเส้นเอ็นจะมีความยืดหยุ่นน้อยลง และแผ่นไขมันที่ช่วยรองรับส้นเท้าบางลงนั้นเอง


     ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ทำให้เป็นโรคนี้คือ

   • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน และผู้ที่เป็นโรคอ้วน
   • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
   • พวกนักวิ่ง หรือผู้ที่ต้องใช้เท้ามากๆ
   • ผู้ที่เป็นโรคเท้าแบน หรือว่าผู้ที่มีส่วนโค้งของเท้ามาก
   • หรือการใส่รองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า


     อาการของการเจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า

   ผู้ป่วยจะมีอาการปวดส้นเท้า หรือส่วนโค้งของเท้า และจะมีลักษณะเจ็บคล้ายๆกับมีของแหลมมาทิ่ม กล้ามเนื้อน่องจะมีอาการเกร็ง อาการจะเป็นมากในตอนเช้าหลังจากที่ตื่นนอน และจะเริ่มดีขึ้นเมื่อมีการบริหารฝ่าเท้า หรือบางครั้งอาการปวดจะมีขึ้นเมื่อยืนนานๆ ในกรณีที่เป็นมาก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตลอดทั้งวัน

     การวินิจฉัยโรค

   ผู้ป่วยจะถูกให้ยืนและเดินเพื่อที่จะตรวจสอบลักษณะของเท้า พร้อมกับที่ผู้ป่วยจะถูกซักประวัติทางสุขภาพต่างๆ, กิจกรรมการออกกำลังกาย, ประวัติการเจ็บป่วย, ช่วงเวลาของการปวดเท้าเช้าหรือเย็นหรือตลอดเวลา

     การป้องกันและการรักษา

   โรคนี้ไม่ถึงกับเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ควรได้รับการรักษาเนื่องจากกระทบการเทือนต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย การรักษาสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แต่ทั้งนี้ไม่มีวิธีไหนที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาโรคนี้ ผู้ป่วยอาจจะต้องหายๆวิธีรวมกันดังนี้

   • การพัก
หยุดกิจกรรมที่ต้องทำการใช้เท้านานๆ สามารถที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวดนี้ได้ รวมไปถึงการวิเคราะห์ถึงสภาพกิจกรรมหรือร่างกายที่ผ่านมาว่า มีส่วนทำให้เป็นโรคนี้ได้หรือไม่เช่นน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หรือการฝึกวิ่งที่หักโหมมากเกินไป

   • ใช้ Ice Packs 

   เป็นการใช้ความเย็นช่วยในการรักษาการอักเสบของเส้นเอ็น โดยนำ Ice packs เข้าไปประคบฝ่าเท้าหลังการทำกิจกรรมการยืดกล้ามเนื้อ เป็นเวลา 10-15 นาที

   • ทำการยืดกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายส่วนเท้า

     การออกกำลังกายจะช่วยบรรเทาอาการรองช้ำได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 อย่างก็คือ

   1. การยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งจะเป็นการยืด plantar fascia ligament และเส้นเอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon)
   2. การทำให้กล้ามเนื้อส่วนเท้าและข้อเท้าแข็งแรงขึ้น

     ข้อแนะนำ: การออกกำล้งการบางอย่างทำให้อาการรองช้ำนี้เป็นมากขึ้น เช่นการวิ่ง เนื่องจากว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่มีแรงไปกระทำกับบริเวณเท้าอย่างต่อเนื่องนานๆ ทำให้ plantar fascia ligament ยังคงอักเสบอยู่นั้นเอง

   ตัวอย่างของการยืดกล้ามเนื้อและการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีตามข้างล่างนี้

   1) ออกแรงดันกำแพงโดยที่ขาข้างที่ต้องการที่จะทำการยืดอยู่ด้านหลัง ให้ขาอีกข้างหนึ่งที่อยู่ด้านหน้างอ โดยที่ให้ส้นเท้าทั้ง 2 ข้างอยู่บนพื้น

   2) ยืนด้วยฝ่าเท้าโดยให้ปลายเท้าอยู่บนบันไดขั้นที่สูงกว่า และพยายามนำส้นเท้ายืดลงด้านล่างของขั้นบันได้ให้ได้มากที่สุด

   3) ใช้ผ้าหนาๆสอดไปใต้ฝ่าเท้าในท่าที่นั่งยืดขา ค่อยๆดึงผ้าจนกระทั่งรู้สึกตึงๆฝ่าเท้า

   การทำการยืดนี้จะมีทั้งการยืดเส้นเอ็น plantar fascia(ดูจากรูปแรก) และทั้งการยืดกล้ามเนื้อน่อง มีงานวิจัย(Journal of orthopaedic and sports physical therapy, april 2008) ออกมาว่าการยืดเหล่านี้จะเป็นการช่วยทำการอาการปวดทุเลาลงไปได้ในเวลา 2-4 เดือน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อน่องอีกด้วย

   การยืดกล้ามเนื้อนี้สามารถทำได้ 3 นาทีต่อครั้ง เป็นเวลา 3 ครั้งใน 1 วัน หรือว่าจะเป็น ครั้งละ 20 วินาทีทำ 5 ยก ทำวันละ 2 ครั้งก็ได้



   การใช้แผ่นรองรองเท้าที่ดีนั้นจะช่วยลดแรงกระแทกที่ฝ่าเท้ากระทำกับเข้ากับพื้นรองเท้า ในกรณีที่ใช้แผ่นรองรองเท้าที่ทำแค่เฉพาะเท้าของผู้ป่วยนั้น ก็จะยิ่งช่วยลดแรงกระแทกได้

   การใช้แผ่นรองรองเท้านี้จะสามารถช่วยอาการปวดให้ทุเลาลงได้ภายใน 3 เดือน แต่ทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่สำหรับการใช้แผ่นรองรองเท้านี้ ว่าสามารถจัดการกับอาการปวดได้ในระยะยาว (Journal of orthopaedic & sports physical therapy, april 2008)






 
© 2000-2008 CopyRight by M C I International Co., Ltd.
Tel. 02-223-5549  Fax. 02-225-1494
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login