องค์ความรู้ด้านสปา
องค์ความรู้ด้านสปา
Last Update : 27/08/2015 13:39:20
องค์ความรู้ นวดแผนไทย
องค์ความรู้ นวดแผนไทย
Last Update : 27/08/2015 13:31:46
รับนวดแก้อาการตำรับกรุงศรีอยุธยา
Brand : Trainer Tip
Model : Trainer Tip
รับนวดแก้อาการปวดตามที่ต่างๆของร่างกาย
Last Update : 21:19:02 06/09/2015
หลักสูตร การนวดแผนไทย 150 ชั่วโมง เรียน 7วัน
Brand : Trainer Tip
Model : Trainer Tip
หลักสูตร การนวดแผนไทย 150 ชั่วโมง เรียน 7วัน
Last Update : 21:00:45 06/09/2015
หลักสูตร นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า 60 ชั่วโมง เรียน 3วัน
Brand : Trainer Tip
Model : Trainer Tip
หลักสูตร นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า 60ชั่งโมง (3-4วัน)
Last Update : 21:00:26 06/09/2015
หลักสูตร เทคนิคการนวดน้ำมันตะวันตกทั้งหมด 60 ชั่วโมง เรียน 5วัน
Brand : Trainer Tip
Model : Trainer Tip
หลักสูตร เทคนิคการนวดน้ำมันตะวันตกทั้งหมด 60 ชั่วโมง เรียน 5วัน
Last Update : 21:00:07 06/09/2015
หลักสูตร นวดน้ำมันอโรมา 60 ชั่วโมง เรียน 3วัน
Brand : Trainer Tip
Model : Trainer Tip
หลักสูตร นวดน้ำมันอโรมา 60 ชั่วโมง เรียน 3วัน
Last Update : 20:59:48 06/09/2015

องค์ความรู้ นวดแผนไทย

Last Update : 13:31:46 27/08/2015
Page View (2181)

อาการปวดที่บำบัดได้โดยการนวดแผนไทยด้วยตนเอง
– อาการปวดที่พบบ่อยซึ่งสามารถบำบัดได้ด้วยตนเองโดยใช้วิธีการของการนวดไทย ได้แก่
- อาการปวดศีรษะ มีหลายสาเหตุที่พบบ่อย คือ ปวดศีรษะจากความเครียด ส่วนอาการปวดศีรษะที่ไม่ควรนวด ได้แก่ ปวดศีรษะร่วมกับอาการ มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง แขนขาอ่อนแรง อาเจียนพุ่ง มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง และโรคทางสมอง นอกจากนี้ถ้ามีอาการปวดศีรษะตรงท้ายทอยและปวดร้าวเสียว ชา มาที่แขนเพราะรากประสาทคออาจถูกกดทับก็ไม่ควรนวด
- อาการปวดคอ มักเกิดจากท่าทางในชีวิตประจำวันไม่เหมาะสม แต่ในกรณีที่มีอาการชาที่ปลายนิ้วมือซึ่งเกิดจากการเคลื่อนออกของหมอนรองกระดูกหรือจากภาวะกระดูกเสื่อม ไม่ควรนวด
- อาการปวดข้อไหล่ พบบ่อยในสตรีที่ต้องหิ้วของหนัก หรือผุ้ที่ใช้แขนทำงานเป็นเวลานาน ๆ หรือทำงานในท่าที่เหมาะสม แต่ในกรณีที่ข้อไหล่อักเสบมีอาการปวด บวม ร้อน ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุ ห้ามทำการนวด
- อาการปวดหลัง พบบ่อยในหมู่ผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะการทำงานที่ต้องยกของหนัก อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังสามารถบรรเทาด้วยการบีบนวดหรือร่วมกับการประคับด้วยความร้อน ถ้ามีอาการร้าวที่เกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน สามารถทดสอบโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายเหยียดข้อเข่าให้ตรงแล้วยกขาขึ้นจากพื้น โดยพยายามอย่าให้ข้อเข่างอ ถ้ามีอาการปวดเสียวร้าวลงขาแสดงว่ามีการกดทับของรากประสาท ห้ามทำการนวดด้วยตนเอง
- อาการปวดข้อเข่า พบบ่อยในคนวัยกลางคนและวัยสูงอายุ มักเกิดจากการเสื่อมของข้อเข่า ในกรณีที่เกิดการอักเสบทำให้อาการบวมรอบ ๆ ข้อเข่า ห้ามทำการบีบนวด


อิริยาบถท่าทางที่เหมาะสม และกายบริหารเพื่อการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง การใช้ท่าทางและอิริยาบถที่เหมาะสมเพื่อสุขภาพ การใช้ท่าทางและอิริยาบถที่เหมาะสมเพื่อสุขภาพมีดังต่อไปนี้

ท่านอน ควรมีลักษณะราบเรียบและแน่น หมอนไม่สูงหรือต่ำเกินไป ไม่นิ่มและแข็งเกินไป การลุกจากที่นอน ควรลุกในท่าตะแคง

ท่านอนหงาย ควรใช้หมอนให้เตี้ยที่สุดหรือไม่ใช้เลย ขาควรหนุนให้สูงกว่าระดับหัวใจเล็กน้อยเพื่อช่วยให้เลือดดำไหลกลับหัวใจได้ง่าย

ท่านอนตะแคง หมอนต้องสูงพอดีเพื่อรองรับศีรษะให้อยู่แนวเดียวกับลำตัว การนอนตะแคงขวาเป็นท่าที่ดี เนื่องจากหัวใจอยู่ด้านซ้ายจะสูบฉีดเลือดไหลเวียนได้สะดวก

ท่านอนคว่ำ ไม่เหมาะสมกับวัยกลางคนขึ้นไปเพราะทำให้หายใจลำบาก แต่ถ้าจำเป็นอาจทำได้โดยเอาหมอนหนุนที่หน้าอกให้ศีรษะตะแคงทาบอยู่บนพื้นเตียงในระดับเดียวกับลำตัว

ท่านั่ง
- ท่านั่งพับเพียบ เป็นท่าที่ไม่เหมาะสม เพราะกระดูกสันหลังจะเอียงไปอีกข้างหนึ่ง ถ้าจำเป็นต้องนั่งท่านี้ ควรเปลี่ยนสลับซ้ายขวาบ่อย ๆ
- ท่านั่งขัดสมาธิ เหมาะสำหรับการนั่งฟังเทศน์หรือทำงานบนพื้นที่ต้องใช้เวลานานกว่าปกติ
- ท่านั่งเก้าอี้ ควรให้เท้าทั้งสองวางราบบนพื้น มีบริเวณบั้นเอวควรมีหมอนใบเล็ก ๆ เพื่อรองรับส่วนโค้งกระดูกสันหลัง

ท่ายืน ที่ถูกต้องควรให้ศีรษะ ลำตัว และขาอยุ่ในแนวเส้นตรง ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง ส้นรองเท่าของผู้ชายไม่ควรเกิน 1 นิ้ว และของผู้หญิงไม่ควรเกิน 1 นิ้วครึ่ง
- ท่าเดิน เช่นเดียวกับท่ายืน
- ท่าทางในการทำงาน

ท่ายกหรือหยิบของจากพื้น ควรย่อเข่าลงนั่งยอง ๆ แล้วหยิบหรือยกของ ในการยกของจากพื้นต้องยกของให้ชิดตัวมากที่สุด

ท่าหิ้วของจากพื้น อย่าก้มลงหิ้วของ ควรคุกเข่าข้างหนึ่งและงอเย่าที่อยู่ใกล้ของให้เป็นมุมฉากแล้วหิ้วขึ้นมา พยายามหิ้วให้ชิดลำตัว

ท่าเข็นของ ไม่ควรเข็นของโดยเหยียดแขนให้รถเข็นอยู่ไกลตัว ควรเข็นของให้ชิดตัว งอข้อศอก หลังตรง

ท่าหยิบหรือยกของขึ้นที่สูง ต้องมีคนช่วยอยู่บนที่สูง ในขณะที่คนยกช่วยดันอยู่ข้างล่าง ถ้าที่สูงเกินไป ต้องมีเก้าอี้หรือกล่องไม้เพื่อเหยียบให้ตัวสูงขึ้น

ท่าทำงานที่ต้องเอื้อม ควรยืนบนเก้าอี้หรือบันได ซึ่งสูงพอที่จะไม่ต้องแหงนหน้ามาก

ท่าขุดดิน ไม่ควรก้มตัวขุดดิน ควรย่อเข่า รักษาหลังให้ตรง จับอุปกรณ์ให้ใกล้ตัว

ท่าดำนา ขณะดำนาควรงอเข่าให้ท่อนแขนของมือที่กำต้นกล้ายันที่หน้าขาเพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อหลังและเอว และควรยืดตัวให้ตรงทุกครึ่งชั่วโมง แล้วบิดตัวไปม



 
© 2000-2008 CopyRight by www.asom-preuksa.com
Tel. 0838366953  Fax. ID Line:tantiptip  Website. www.asom-preuksa.com
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login