พิธีการส่งออก
พิธีการส่งออก การส่งสินค้าออกจากประเทศไทยต้องผ่านพิธีการส่งออกตามกระบวนการปกติ ในความหมายของศุลกากรนั้น การส่งออกคือการเคลื่อนย้ายสินค้าโดย เรือ หรือเครื่องบิน จากสถานที่หนึ่งในประเทศไทยไปยังสถานที่หนึ่งนอกประเทศไทย สินค้าทั้งหมดที่ส่งออกจากประเทศไทยต้องรายงานและผ่านพิธีการทางศุลกากร
Last Update : 17/11/2010 16:01:38
คู่มือระบบพิธีการนำเข้า
คู่มือระบบพิธีการนำเข้า
Last Update : 09/11/2010 12:26:48
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า
Last Update : 09/11/2010 12:19:42
พิธีการนำเข้า
การนำเข้าสินค้า เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย ผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับการนำเข้ากับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าที่นำเข้า การนำสินค้าเข้าประเทศไทยยังไม่ถูกกฎหมายโดยสมบูรณ์จนกระทั่งสินค้ามาถึงท่าที่นำเข้า การส่งมอบสินค้าได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร และได้ชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ผู้นำเข้ามีความรับผิดชอบในการเตรียมสินค้าเพื่อการตรวจสอบ และปล่อยสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากร นอกจากนี้ผู้นำเข้ายังต้องได้รับใบอนุญาตในการนำเข้าสำหรับสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า สินค้าบางรายการต้องได้รับการอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการนำเข้าเอกสาร
Last Update : 09/11/2010 12:17:10
Logistics Planning and Consulting Services
Brand : TLA
Last Update : 10:19:37 17/11/2010
Packing & Re-Packing
Brand : TLA
Last Update : 10:19:03 17/11/2010
International Freight Forwarding
Brand : TLA
Last Update : 10:18:40 17/11/2010
Warehouse Management
Brand : TLA
มีให้บริการด้านคลังสินค้ากระจายตัวอยู่ทั่วประเทศและ Free Zone
Last Update : 10:18:13 17/11/2010
Customs Brokerage
Brand : TLA
Last Update : 10:16:47 17/11/2010
Services
Last Update : 00:00:00 01/01/2011
TLA
Last Update : 00:00:00 01/01/2011

พิธีการส่งออก

Last Update : 16:01:38 17/11/2010
Page View (2178)

พิธีการส่งออก

การส่งสินค้าออกจากประเทศไทยต้องผ่านพิธีการส่งออกตามกระบวนการปกติ ในความหมายของศุลกากรนั้น การส่งออกคือการเคลื่อนย้ายสินค้าโดย เรือ หรือเครื่องบิน จากสถานที่หนึ่งในประเทศไทยไปยังสถานที่หนึ่งนอกประเทศไทย สินค้าทั้งหมดที่ส่งออกจากประเทศไทยต้องรายงานและผ่านพิธีการทางศุลกากร

บทบาทของกรมศุลกากรในเรื่องการส่งออกสินค้าคือการทำให้แน่ใจว่ามีการ รายงานสินค้าส่งออกจากประเทศไทยตามที่กรมศุลกากรกำหนด และควบคุมเรื่องใบอนุญาตสำหรับสินค้าบางประเภท นอกจากนี้กรมศุลกากรยังทำหน้าที่เก็บข้อมูลการส่งออกเพื่อช่วยให้รัฐบาลและ อุตสาหกรรมต่างๆนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและตัดสินใจในเรื่องต่างๆ

ก่อนบรรทุกสินค้าในเรือหรือเครื่องบินเพื่อการส่งออก กรมศุลกากรต้องได้รับข้อมูลของสินค้าดังกล่าว และอนุญาตให้ส่งออกได้ ข้อมูลการส่งออกส่วนใหญ่ส่งด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Export

เอกสาร

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นเพื่อดำเนินพิธีการทางศุลกากรเพื่อส่งออกประกอบด้วย

  1. ใบขนสินค้าขาออก
  2. บัญชีราคาสินค้า
  3. ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใดสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก (ถ้ามี)
  4. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ถ้ามี)
  5. เอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ดตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการ

พิธีการส่งออกมีความคล้ายคลึงกับพิธีการนำเข้า ข้อมูลใบขนสินค้าขาออกจะเข้าสู่กระบวนการโดยอัตโนมัติทันทีที่ระบบ คอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรได้รับข้อมูลดังกล่าวจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยปกติพิธีการทางศุลกากรเพื่อการส่งออกประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้

1.         การโอนถ่าย และ/หรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า: พิธีการส่งออกเริ่มต้นเมื่อผู้ส่งออกหรือตัวแทน ส่งข้อมูลใบขนสินค้าโดยใช้ eb-XML ผ่านระบบ VAN หรืออินเตอร์เน็ตเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

2.         การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล: ขั้นตอนที่ 2 คือการตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้ส่ง ออกยื่นมา ทันทีที่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรได้รับข้อมูลใบขนสินค้าขาออก ข้อมูลจะได้รับจะถูกตรวจสอบ ในกรณีที่ข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฎข้อผิดพลาดใดๆ ระบบจะออกเลขที่ใบขนสินค้าโดยเชื่อมต่อกับระบบ e-Payment (หากมีภาระภาษีอากร) ต่อจากนั้นระบบจะส่งข้อความตอบกลับไปยังผู้ส่งออกหรือตัวแทน

3.         การชำระภาษีอากร: ขั้นตอนที่ 3 คือการชำระภาษีอากรหรือการวางประกันที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันสามารถชำระได้ 3 วิธี: ชำระที่กรมศุลกากร   ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และชำระที่ธนาคาร

4.         การตรวจและการปล่อยสินค้า: ขั้น ตอนสุดท้ายคือการตรวจและปล่อยสินค้าจากอารักขาของศุลกากร  ในขั้นนี้ freight forwarder บรรจุสินค้าในตู้สินค้าและส่งรายงานสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ข้อมูลจะได้รับจะถูกตรวจสอบ ในกรณีที่ข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฎข้อผิดพลาดใดๆ ระบบจะสร้างเลขที่กำกับการขนย้ายสินค้า และส่งข้อความไปยัง freight forwarder หลังจากนั้น freight forwarder พิมพ์ใบกำกับการขนย้ายที่ระบุหมายเลข  และเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังท่าที่ส่งออก ในขั้นนี้ ข้อมูลของสินค้าถูกตรวจสอบความถูกต้องโดยละเอียดเพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าว ต้องผ่านการเปิดตรวจ (Red Line) หรือยกเว้นการตรวจ (Green Line) หากเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจจะใช้เวลาน้อยมาก ขณะที่สินค้าที่ต้องเปิดให้ตรวจจะถูกเคลื่อนย้ายเพื่อเตรียมให้เจ้าหน้าที่ ศุลกากรตรวจ



 
© 2000-2008 CopyRight by Thai Logistics Alliance Co.,Ltd.
Tel. (662) 6633411-4 ต่อ 337  Fax. (662) 6631064  Website. www.tla.co.th
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login