ไดอะสปอร์ (Diaspore)
ความเป็น “สิ่งที่ใหม่” และ “ไม่ปกติ” คือการที่เป็นอัญมณีที่เปลี่ยนสี Diaspore, จาก Turkey ได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างความตื่นเต้นให้กับแร่ธาตุที่ผู้คนนักสะสมทุ่มเทเพื่อให้ได้มาเป็นสมบัติของตนมาหลายทศวรรษ Diaspore ได้รับการยอมรับมากขึ้นจากนักธรณีวิทยาว่าเป็นแร่ประเภทเดียวกับแร่ bauxite
Last Update : 13/09/2012 10:35:46
โมลดาไวท์ (Moldavite)
โมลดาไวท์ (Moldavite) - อุลกมณีสีเขียวใส เป็นสะเก็ดดาวที่ถูกพบและได้รับการบันทึกไว้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1787 ที่ประเทศเชคโกสโลวาเกีย ใกล้แม่น้ำMoldua จึงเรียกชื่อว่า Moldavite (เป็นสะเก็ดดาวชนิดหนึ่งในตระกูล Tektite) มีสีเขียวสดใส นับเป็นสะเก็ดดาวที่หายากและมีราคาแพง
Last Update : 10/09/2012 11:33:38
มูนสโตน (Moonstone) หรือ มุกดาหาร
มูนสโตน (Moonstone) หรือ มุกดาหาร ที่มีชื่อนี้เพราะว่ามีสีเหมือนสีของดวงจันทร์เวลาขึ้นเต็มดวง
Last Update : 22/08/2012 12:19:42
แทนซาไนต์ (Tanzanite)
มีสีน้ำเงินอมเขียว อมน้ำตาล โดยสีเปลี่ยนตามทิศทางผลึก แทนซาไนต์ (Tanzanite) มีลักษณะคล้ายกับไพลิน (Blue sapphire) มาก แต่แสดงสีแฝดที่เด่นชัดกว่า มีค่าดัชนีหักเห และ ความถ่วงจำเพาะที่ต่ำกว่า อัญมณีที่มีสีเหมือน Tanzanite อีกชนิด คือ Iolite แสดงสีแฝดเด่นชัดเช่นกัน แต่แยกได้โดยมีค่าดัชนีหักเห และ ความถ่วงจำเพาะต่ำกว่า Tanzanite อยู่ในกลุ่มของ ซอยไซต์ (Zoisite) ซึ่งเป็นแร่ที่มีหลายชนิด ที่จัดเป็นอัญมณี มีสีคล้ายไพลิน โดยสีเกิดจากธาตุ V เป็นอัญมณีที่แสดงสีแฝด (pleochroism) เด่นชัด เกิดในหินแปร โดย แทนซาไนต์ (Tanzanite) พบในหินที่แปรสภาพมาจากหินปูนบริเวณที่แทรกสลับกับหิน Schist
Last Update : 22/08/2012 11:27:37
ความหมายของหินเสริมมงคลแต่ละชนิด
บทความให้ความรู้เกี่ยวกับประเภท และชนิดของหินแต่ละชนิด พร้อมคุณสมบัติ ... เป็นหิน ที่ช่วยเสริมความมีชีวิตชีวา พละกำลังและให้ความมั่นใจแก่ผู้เป็นเจ้า ของ
Last Update : 27/07/2012 16:57:18
Star Sunstone 3.22 Carats.
Brand : Friendly Gem
Model : FJ120011
Last Update : 16:37:07 19/10/2012
Green Peridot 2.00 Carats.
Brand : Friendly Gem
Model : FJ120005
Last Update : 16:34:47 19/10/2012
Dark Red Spessartine Garnet 1.51 Caraats
Brand : Friendly Gems
Model : FJ120067
Last Update : 11:08:58 19/10/2012
Gray Red Spessartine Garnet 4.09 Carats
Brand : Friendly Gems
Model : FJ120066
Last Update : 11:03:52 19/10/2012
Greenish Yellow Tourmaline 2.01 carats
Brand : Friendly Gems
Model : FJ120065
Last Update : 10:56:19 19/10/2012

โอปอล (Opal)

Last Update : 10:40:24 10/07/2012
Page View (2271)
โอปอล (Opal)

          โอปอล (Opal) เป็นที่รู้จักกันมานานนับศตวรรษ จนในศตวรรษที่ 19 คนหมดความนิยมในโอปอล เพราะ Sir Walter Scott ได้เขียนนวนิยายเรื่อง “Anne of Geierstein” ซึ่งได้กล่าวถึงโอปอลในแง่ลบ จนกระทั่งสมัยราชินีวิคตอเรีย แห่งซาราช์ เบอร์ฮาดท์ ได้ทำให้โอปอลกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งจนถึงปัจจุบันนี้ โอปอลเป็นพลอยประจำราศีในเดือนตุลาคมร่วมกับทัวมาลีนชมพู  

          ค่านิยมของโอปอลขึ้นอยู่กับแบบการกระจายของการเล่นสี (Play-of-colour) และสีของการเล่นสี การเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างกะทันหันอาจทำให้โอปอลร้าวและแตกได้ โอปอลไม่ควรต้มในสารละลายต่างๆ ความร้อนมากไปจะทำให้โอปอลเกิดรอยร้าว การเล่นสีก็จะหายไป และไม่สามารถทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ การจุ่มพลอยลงในน้ำ หรือกลีเซอรีนไม่สามารถช่วยให้รอยร้าว หรือรอยแตกหายไปได้ แต่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดรอยร้าวเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าของเหลวระเหยหมดไปจะทำให้เกิดรอยแตกหรือรอยร้าวได้

ตระกูลแร่

          โอปอล เป็นแร่ซิลิก้าชนิดหนึ่งที่ไม่มีโครงสร้างผลึก โครงสร้างผลึกไม่ชัดเจน ดังนั้นบางตำราจึงไม่จัดโอปอลเป็นแร่ แต่จัดเป็นสารอสัณฐาน(Amorphous material) หรือกึ่งแร่ (Mineraloid) โอปอลมีน้ำอยู่ในโครงสร้าง มีสูตรเคมีเป็น SiO2nH2O อักษร “n” หมายถึงปริมาณน้ำในส่วนประกอบ โดยทั่วไปโอปอลมีน้ำประมาณร้อยละ 3 ถึง 10 โดยน้ำหนัก แต่บางครั้งอาจมากถึงร้อยละ 20

คุณสมบัติทั่วไป

          อันดับความแข็ง 5.5-6.5 โมห์สเกล ค่าดัชนีหักเห 1.45 ค่าความถ่วงจำเพาะ 2.2

คุณสมบัติเฉพาะตัว

          สาเหตุการเหลือบแสงสีต่างๆ ของโอปอลมาจากอนุภาคซิลิก้าที่จับตัวกันเป็นเม็ดกลมเล็กๆ แต่แทนที่จะเป็นรูปทรงเรขาคณิตอย่างในโครงสร้างแร่ทั่วไป เมื่อแสงเข้าไปกระทบกับเม็ดซิลิก้า เกิดการสะท้อนและหักเหจากผิวโค้งของเม็ดซิลิก้าเม็ดหนึ่งไปยังอีกเม็ดหนึ่งที่อยู่ถัดไปเป็นทอดๆจนเข้าสู่ตาเรา การสะท้อนและการหักเหของแสงนี้ ทำให้ช่วงสีบางช่วงของแสง ถูกดูดกลืนไว้ ช่วงสีที่ไม่ถูกดูดกลืนก็จะผ่านออกมา เช่น ถ้าช่วงแสงสีเหลือง-ส้ม-แดง ถูกดูดกลืนไว้ เราก็จะมองเห็นสีเขียว-เหลือง-น้ำเงิน แต่ละทิศทางที่มองเห็นก็จะเห็นความเข้มของแต่ละสีต่างกัน การดูดกลืนสีขึ้นอยู่กับขนาดของเม็ดซิลิก้า เม็ดขนาดเล็กจะดูดกลืนแสงช่วงคลื่นยาว จึงออกเป็นเหลือบแสงสีเหลือง-ส้ม-แดง ถ้าเม็ดซิลิก้าใหญ่ขึ้นจะให้เหลือบแสงสีเขียว-เหลือง-น้ำเงิน มากขึ้นตามขนาดเม็ดซิลิก้า โอปอลที่ไม่เล่นแสงเรียกว่า โอปอลธรรมดา (Common Opal) เป็นโอปอลที่พบโดยทั่วไป เนื้อโอปอลคล้ายวุ้นหรือไข มีหลายชนิดหลายสี เช่น ไฮยาไลต์ (Hyalite) เป็นโอปอลที่ใสไม่มีสีคล้ายแก้ว โอปอลสีน้ำนม (Milky Opal) โอปอลสีน้ำตาล (Brown Opal) โอปอลไฟ (Fire Opal)
คุณสมบัติทางเคมี คุณสมบัติทางเคมีของโอปอล จะมีสูตรเคมีที่คล้ายแร่ควอตซ์ แต่มีโมเลกุลของน้ำปนอยู่ด้วยในสูตรโมเลกุล คือ SiO2. nH2O มีคุณสมบัติ ไม่หลอมละลาย(infusible) ไม่ละลาย (insoluble) มีปฏิกิริยาเคมีคล้ายกับควอตซ์
คุณสมบัติทางฟิสิกส์
คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของโอปอล คือ ไม่มีรูปผลึก (Amorphous) และมักจะมีลักษณะคล้ายพวงองุ่น (botryoidal  
หรือคล้ายๆ หินย้อย (Stalactite) มีรอยแตกเว้ากึ่งๆโค้ง มีความแข็งอยู่ในช่วง 5.5 - 6.5 ตามสเกล ความแข็งมาตรฐานโมห์ (Moh's scale of hardness) มีค่าความถ่วงจำเพาะ 1.9 - 2.2 มีความวาวคล้ายแก้ว บางครั้งก็มีความวาวคล้ายยางสน สีของโอปอลอาจจะเป็นสีขาว ไม่มีสี สีเหลือง แดง น้ำตาล เขียว เทา และน้ำเงินขึ้นกับมลทินที่เข้ามาเจือปนอยู่ บางครั้งจะแสดงคุณสมบัติโอปอเลสเซนท์ (Opalescense) คือเมื่อขยับไปมาจะเล่นสีได้ เนื้อมีลักษณะโปร่งใสถึงโปร่งแสง ค่าดัชนีหักเหหรือมาตรการแสงหักเห (Refractive index) ไม่คงที่ ปกติอยู่ในช่วงระหว่าง 1.435 - 1.455 โอปอลไม่มีรอยแยกแนวเรียบ (Cleavage) อย่างเช่นรัตนชาติอื่นๆ มีแต่เฉพาะรอยแตก (Fracture) ซึ่งมักจะแตกเป็นรูปก้นหอย(Conchoidal fracture)
นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างของโอปอลยังเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือโมเลกุลซิลิกอนไดอ๊อกไซด์จับตัวกันแบบรูปปิรามิดโดยมีน้ำแทรกอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการเล่นสีขึ้น คล้ายกับการเกิดรุ้งบนฟองสบู่ โอปอลมีหลายสี แต่ที่พบมาก คือสีขาว สีดำถือว่าราคาแพงที่สุดเพราะจะทำให้การเล่นสีเด่นชัดขึ้น โอปอลไฟ (เหลือง ส้ม แดง) มักจะนำมาเจียระไน และใช้แทนทับทิม โอปอลที่หายาก คือ สีเขียว น้ำเงิน โอปอลจะบอบบาง จึงมักจะถูกประกบด้านล่าง 2-3 ชั้น ด้วยโอปอลสีดำ และด้านบนปะด้วยควอทซ์ใส ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมากในการนำโอปอลมาทำแหวน หรือเครื่องประดับอื่นๆที่ต้องการการปรับปรุงคุณภาพอย่างหยาบการปรับปรุงคุณภาพ
          การปรับปรุงคุณภาพของโอปอลเพื่อเพิ่มความเข้มของสีพื้นและการเล่นแสงหรือเพื่อเพิ่มความแข็ง มีหลายวิธี เช่น การอบ การต้ม การแต้มสี การย้อม และการอุดด้วยเรซิน ขี้ผึ้งหรือน้ำมัน นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มมูลค่าของโอปอลด้วยการประกอบโอปอลให้ดูชิ้นใหญ่ขึ้น เรียกว่าโอปอลปะ มี 3 แบบ คือ โอปอลปะสองชั้น (Doublet) โอปอลปะสามชั้นหรือโอปอลปะกบ (Triplet Opal) และโอปอลต่อชิ้นหรือโอปอลโมเสด(Mosaic Opal)

การสังเคราะห์
          โอปอลสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นโอปอลสีขาว เพราะการสังเคราะห์โอปอลสีดำยุ่งยากซับซ้อน และมีต้นทุนการผลิตสูง การสังเคราะห์โอปอลจะใช้กรรมวิธีเดียวกับการเกิดโอปอลตามธรรมชาติ คือใช้ซิลิก้าจับตัวกันเป็นเม็ดกลมๆ แล้วปล่อยให้เม็ดซิลิก้าตกตะกอนเป็นชั้นๆเช่นเดียวกับโอปอลธรรมชาติ ดังนั้นคุณสมบัติโอปอลสังเคราะห์กับโอปอลธรรมชาติจึงเหมือนกัน แต่การสังเคราะห์จะใช้เวลานานและมีความยุ่งยาก จึงมีการคิดค้นวิธีการสังเคราะห์โอปอลอีกวิธีหนึ่ง คือการอุดวุ้นซิลิก้าให้เรียงเป็นชั้น แทนที่จะปล่อยให้ตกตะกอนเอง เพื่อร่นระยะเวลาการเกิด

วิธีการตรวจสอบ
          โอปอลบางแหล่งเรืองแสงเมื่อกระทบกับแสงรังสีเหนือม่วงทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว โดยเรืองแสงสีขาวหรือสีเหลืองอย่างชัดเจน ด้วยคุณสมบัตินี้ จึงนำมาใช้แยกโอปอลที่ปะปนกับหินได้อย่างง่ายดาย โดยการส่องไฟรังสีเหนือม่วง โดยทั่วไปแล้วโอปอลสังเคราะห์จะมีเนื้ออ่อนกว่า และเบากว่าโอปอลธรรมชาติเล็กน้อย   การจำแนกโอปอลต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายหลายสิบเท่า สังเกตที่ผิวของโอปอลสังเคราะห์จะมีผิวลายคล้ายตุ๊กแก(Lizard skin) ซึ่งในโอปอลธรรมชาติจะไม่มี ส่วนโอปอลเทียมที่ทำจากพลาสติกจะมีค่าความถ่วงจำเพาะ 2.0 ซึ่งเบากว่าโอปอลธรรมชาติที่มีค่าความถ่วงจำเพาะ 2.2

อัญมณีเทียบเคียง
          แคลซิโดนี พลาสติก หินสะโลคัม
ชนิดและชื่อทางการค้า

  • 1. โอปอลดำ (Black Opal)  ลักษณะพลอยโปร่งแสงถึงทึบแสง การเล่นสีมีสีแดง สีพื้นของตัวพลอยต้องเข้ม อาจเป็นสีน้ำตาลแก่ น้ำเงิน เขียว

  • 2. โอปอลขาว (White Opal)  ลักษณะพลอยจะโปร่งแสงถึงกึ่งโปร่งแสงสีขาวพร้อมกับการเล่นสี ถ้าโอปอลขาวมีการเล่นสีที่สวยงาม
  • จะเรียกว่า  “White Cliff Opal”

  • 3. โอปอลคริสตัล (Crystal Opal)
ลักษณะพลอยไม่มีสี โปร่งใสถึงกึ่งโปร่งใสมีการเล่นสี

  • 4. โอปอลน้ำ หรือโอปอลวุ้น (Water or Jelly Opal)  ลักษณะพลอยไม่มีสี โปร่งใสถึงกึ่งโปร่งใส มีการเล่นสีเล็กน้อยหรือไม่มี

  • 5. โอปอลไฟ หรือ โอปอลเม็กซิกัน (Fire or Mexican Opal)  ลักษณะพลอยโปร่งใสถึงกึ่งโปร่งใสตัวพลอยสีเหลือง แดง ส้ม น้ำตาล จะมีหรือไม่มีการเล่นสีก็ได้

  • 6. โอปอลเชอร์รี่ (Cherry Opal)  สีแดงมีการเล่นสี เป็นโอปอลที่ไม่ค่ีอยนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับมากนัก

  • 7. โอปอลธรรมดา (Common Opal)  ลักษณะพลอยโปร่งแสงถึงทึบแสง ไม่มีการเล่นสี

  • 8. โอปอลเพรส (Prase Opal)  ลักษณะพลอยโปร่งแสงถึงทึบแสงตัวพลอยสีเขียวหรือส้ม

 

  • 9. โอปอลอูลิติค (Oolitic Opal)  การเล่นสีอยู่ลึกเข้าไปในพื้นพลอย มีตำหนิภายในเป็นจุดเล็ก ๆ สีดำหรือน้ำตาล ดูคล้ายไข่ปลา การกระจายแสงจะทั่วทั้งเม็ด

  • 10. ทาบาเชียร์ (Tabasheer Opal)   พบในส่วนข้อต่อของต้นไม้ไผ่(ฟอสซิล)


          โอปอลเป็นพลอยที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะโอปอลดำซึ่งมีความสวยงามและหาได้ยากมากกว่าสีอื่น ๆ มีราคาแพงที่สุดในบรรดาโอปอลชนิดต่าง ๆ ค่าของโอปอลขึ้นอยู่กับสี ขนาด รูปแบบการกระจายของการเล่นสี และสีของการเล่นสี หลักการที่ใช้ตั้งค่าของโอปอลมี 3 อย่าง คือ ความแจ่มชัดของสี การเล่นสี และจำนวนสีที่กระจายอยู่ควรจะเป็นพลอยกึ่งโปร่งแสง แหล่งกำเนิด ออสเตรเลียเป็นแหล่งสำคัญที่สุด


 
 
ความเชื่อ        

โอปอล (Opal) ถือเป็นอัญมณีนำโชคของคนที่เกิดเดือนตุลย์ ในสมัยโบราณเชื่อกันว่า โอปอล เป็นอัญมณีที่ช่วยเสริมสร้างความสำเร็จ สามารถป้องกันอันตรายจากศัตรูได้ นอกจากนั้นยังเชื่อว่า โอปอล สามาระช่วยบรรเทาอาการของโรคต่างๆ ได้ เช่น อาการที่เกี่ยวข้องกับตา ป้องกันอาหารเป็นพิษ และช่วยบำบัดจิตใจที่สับสนวุ่นวาย ทำให้มีความสงบมากขึ้น และมีความจำดีขึ้น คำว่า OPAL จริงๆ แล้วมากจากภาษาสันสกฤต UPALA (อูพาลา) แปลว่าหินที่มีค่า

          โอปอลเป็นอัญมณีที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากอัญมณีชนิดอื่น คือมีสีสันแปลกตา เป็นประกายเจิดจรัสดั่งสีของสายรุ้ง สีสันที่สวยงามของโอปอลนั้น จะมีนิยายที่เล่าขานกันมาว่า โอปอลคือสุภาพสตรีนางหนึ่งซึ่งมีความสวยงามมาก จนกระทั่งเป็นที่ลุ่มหลงรักใครของเทพเจ้าถึงสามองค์ในคราวเดียวกัน จึงทำให้เกิดความอิจฉาริษยาระหว่างเทพเข้าทั้งสามองค์ขึ้น ความทราบถึงพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดจึงพิโรธยิ่งนัก พระองค์จึงสาบสาวสวยโอปอลให้กายเป็นหมอก เทพเจ้าแต่ละองค์เมื่อเห็นเหตุการณ์กลับกลายเป็นเช่นนั้น ต่างก็รีบแย่งชิงให้โอปอล ยืมสีของตนไปใช้เพื่อที่จะได้เป็นเครื่องหมาย จดจำโอปอลได้ง่ายเทพเจ้าแห่งสววรค์ให้สีน้ำเงินอันรุ่งโรตน์ เทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์ให้สีทอง และเทพเจ้าแฟ่งไฟให้สีแดง แต่ในที่สุดก็หามีประโยชน์อันใดไม่ เพราะเหตุที่พระผู้เป็นเจ้าอันสูงสุด เกิดมีประทัยสงสารโอปอลจึงแปลงร่างเสียใหม่ จากหมอกให้กลายเป็นโอปอล และมอบสีประกายรุ้งให้เป็นสีประจำตัว บางทีนิยายดังกล่าง อาจเป็นภาพพจน์อย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ทำไมโอปอล จึงก็ให้เกิดความรู้สึกค่อยข้างประหลาด มีเสน่ห์ยั่วยวนใจต่อท่านสุภาพสตรี

 
การดูแลรักษา
          โอปอลเป็นอัญมณีที่ค่อนข้างเปราะบาง ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ ไม่ควรวางโอปอลไว้ในที่ร้อนและแสงสว่างจ้า เช่นในตู้อบ หรือตากแดดนานเกินไป เพราะอาจทำให้โอปอลร้าว เนื่องจากโอปอลมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง ร้อยละ 4-9 ความร้อนทำให้น้ำระเหย เนื้อโอปอลจะแห้งและแตก อีกประการหนึ่งคือโอปอลค่อนข้างอ่อน ต้องระมัดระวังการถูกขีดข่วนเป็นรอย จะสังเกตได้ว่าในตู้ที่โชว์โอปอลจะมีแก้วน้ำวางอยู่ด้วย เพื่อไม่ให้อากาศแห้งเกินไป


 
© 2000-2008 CopyRight by Friendly Gems
Tel. 087-694-2999, 02-808-5991  Fax. 02-808-7262
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login