สารพัดประโยชน์ของน้ำใบบัวบก
3 คุณประโยชน์หลักของใบบัวบก
Last Update : 10/07/2020 01:48:22
รู้หรือไม่ว่า "มะกรูด" ที่เราใช้สระผมนั้น มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด!!
รู้หรือไม่ว่า "มะกรูด" ที่เราใช้สระผมนั้น มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด!!
Last Update : 27/05/2020 03:58:09
อีกสรรพคุณหนึ่งของวัตถุดิบหลักในต้มยำกุ้ง ตะไคร้บ้าน
อีกสรรพคุณหนึ่งของวัตถุดิบหลักในต้มยำกุ้ง เมนูอันเรืองชื่อของไทย คือ ตะไคร้บ้าน
Last Update : 22/05/2020 09:39:03
อีกสรรพคุณหนึ่งของวัตถุดิบหลักน้ำมันหอมระเหยไทย (Essential Oil)
อีกสรรพคุณหนึ่งของวัตถุดิบหลักน้ำมันหอมระเหยไทย (Essential Oil) ได้แก่ ตะไคร้บ้าน มะกรูด ใบฝรั่ง ขมิ้นชัน ซึ่งน้ำมันหอมระเหยสีเหลืองทอง ที่กลั่นออกมาด้วยความตั้งใจ ไม่เพียงแค่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แต่ยังมี? ? ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันจากไวรัส ? ช่วยปรับสมดุลร่างกายและทำให้สุขภาพคุณดีขึ้น ? รู้สึกสดชื่น ? กระฉับกระเฉงและเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ? ต้านแบคทีเรีย , ต้านเชื้อรา และป้องกันแมลง
Last Update : 22/05/2020 00:00:00
Imagine if you can get access into any place by just one smell?where would you like to go?
One of our new journeys is we?re exploring the forest world for selecting and bringing back the touch of leafy wood and hints of fresh green blended with the soft exotic earthy. Natural, woody, and floral?these are the new experience from TCFF waiting for you to get lost into the sense of novelty. These scents accord you to the richness of woody elements enrich with the senses between nude florals and moisty mossy. Don?t wait for the world to pleasure you, let yourself pleasure the world by feel free to contact us and ask for some our exquisite samples.
Last Update : 11/02/2020 07:58:58
Natural Extracts
Brand : TCFF
Model : TCFF
สารสกัดจากธรรมชาติ
Last Update : 16:04:26 17/04/2020
Essential Oils
Brand : TCFF
Model : TCFF
เกี่ยวกับ น้ำมันหอมระเหย
Last Update : 16:04:13 17/04/2020
Fragrance
Brand : TCFF
Model : TCFF
สารประกอบน้ำหอม
Last Update : 16:03:44 17/04/2020
Aromatherapy
Brand : TCFF
Model : TCFF
เกี่ยวกับ อโรมาเธอราพี
Last Update : 16:03:30 17/04/2020
Flavours
Brand : TCFF
Model : TCFF
สารแต่งกลิ่นรส
Last Update : 16:03:15 17/04/2020

การกำเนิดน้ำมันหอมระเหยกับศาสตร์แห่งการบำบัด

Last Update : 00:00:00 15/06/2017
Page View (2182)


การกำเนิดน้ำมันหอมระเหยกับศาสตร์แห่งการบำบัด

แม้ว่ายังไม่มีการยืนยันอย่างแน่ชัดถึงประเทศหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ริเริ่มการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้อย่างชัดเจน แต่พบว่าช่วงประมาณ  500-1500 ปี ก่อนคริสตศักราชพบชาวอียิปต์เป็นชนชาติที่ได้นำเครื่องหอมจำพวกแฟรงคินเซนส์ (frankincense) และ เมอร์ (myrrh) มาใช้ประโยชน์ในการทำพิธีบูชาเทพเจ้า นอกจากนี้ยังพบการนำพืชที่ให้กลิ่นหอมอธิเช่น อบเชย (cinnamon) ซีดาร์วูด (cedarwood) จูนิเพอร์ (juniper) และพืชอีกหลายชนิดมาใช้ในการเก็บรักษาร่างมัมมี่ สำหรับการถ่ายทอดความรู้ศาสตร์ของการใช้น้ำมันหอมระเหยและเครื่องหอมนั้นเชื่อว่าชาวกรีกได้รับวิชาและศาสตร์ดังกล่าวมา หลังจากที่ทำสงครามกับอียิปต์


ในช่วงประมาณ 460 ปี ก่อนคริสตศักราช ฮิปโปเครติส (Hippocrates) ได้รับการยกย่องว่าเป็น ?ผู้ให้กำเนิดวิชาแพทย์? หรือ ?บิดาแห่งการแพทย์? (The Father of Medicine) ซึ่งเป็นชาวกรีกที่มีการนำน้ำมันหอมระเหยจากส่วนต่างๆของพืชมาใช้ในการรักษาคนไข้ นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว เม็กกอลัส (Megallus) ก็เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ได้คิดสูตรที่เป็นที่นิยมมากในการลดอาการอักเสบและช่วยสมานแผลซึ่งสูตรดังกล่าวถูกขนานนามว่า ?Megaleion?  และได้ประยุกต์ใช้ทั้งในด้านการแพทย์และเครื่องสำอางเรื่อยมาจนถ่ายทอดมาสู่ชาวโรมันในเวลาต่อมา นอกจากกรีกและโรมันที่มีการใช้น้ำมันหอมระเหยในการบำบัดและรักษากันมาอย่างช้านาน จีนและอินเดียก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีประวัติการใช้งานมาพร้อมๆ เช่นกันซึ่งพบว่าในสมัยกรีก-โรมันใช้สูตร megaleion ประเทศจีนก็มีการใช้น้ำมันกุหลาบ มะลิ ขิง และคาโมมาย (Chamomile)


เมื่อเข้าสู่ช่วง ค.ศ. 100 การศึกษาการใช้น้ำมันหอมระเหยและสมุนไพรได้มีมากขึ้น และเป็นครั้งแรกในยุโรปที่มีหลักฐานการใช้น้ำมันหอมระเหย วิธีการสกัด และการค้าขายน้ำมันอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยหมอชาวอาหรับที่ชื่อว่า อวิเซนน่า (Avicenna) ได้คิดค้นพัฒนาวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยไอน้ำโดยได้กลั่นน้ำมันหอมระเหยจากดอกกุหลาบ   เป็นครั้งแรก จากนั้น ความรู้ทางด้านน้ำมันหอมระเหยและวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหย จึงได้เผยแพร่กระจายไปทั่วยุโรปสืบมา จนกระทั้งเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มากขึ้น ความสนใจในการแยกตัวยาบริสุทธิ์จากพืชและการสังเคราะห์ยาทางเคมีมากขึ้น การใช้สุคนธบำบัดน้อยลงตามลำดับ จนกระทั้งนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ เรเน่ มอริช กัตฟอส (Ren? Maurice Gattefoss?) ได้ค้นพบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยโดยบังเอิญจากเหตุเปลวไฟลวกมือและด้วยความตกใจจึงนำมือจุ่มลงในน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ ซึ่งเขาพบว่าแผลที่เกิดจากไฟลวกมีอาการปวดลดลง และแผลสมานได้เร็วขึ้น รวมถึงมีรอยแผลเป็นน้อยกว่าแผลไฟไหม้ที่หายเองตามปกติ ซึ่งทำให้เกิดการวิจัยและค้นคว้าอย่างจริงจังมากขึ้นและทำให้เขาทราบว่าน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาตินั้นมีฤทธิ์ที่ดีกว่าสารเคมีสังเคราะห์หรือสารที่แยกจากพืชออกมาเดี่ยวๆ ต่อมาเขาจึงได้แต่งตำราสุคนธบำบัดเล่มแรกและเป็นผู้บัญัติศัพท์คำว่า ?Aromatherapy? เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1928


นอกจากนี้ยังมีการค้นพบตามมาอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น Dr. Penfold ใช้น้ำมันทีทรีในชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการรักษาทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง Dr. Jean Valnet เขียนตำราจากประสบการณ์จริงจากการใช้น้ำมันหอมเพื่อการรักษา และในช่วง ค.ศ. 1964 Madame Marguerite Maury ซึ่งเป็นผู้ริเรื่มการใช้น้ำมันหอมระเหยในเครื่องสำอางและศาสตร์สุคนธบำบัดร่วมกับการนวดเพื่อบำบัดคืนความอ่อนเยาว์



อ้างอิง

1.       Lawless J. The illustrated encyclopedia of essential oils. 1st ed. Great Britain: Butler&Tanner Ltd. Publishing; 1995.

2.        Lis-Balchin M. Aromatherapy science: A guide for healthcare professionals. 1st ed. Great Britain: Gray Publishing; 2006.

3.       Tisserand R., Young R., Essential oil safety. 2nd ed. United Kingdom: Churchill Livingstone; 2014.






 
© 2000-2008 CopyRight by Thai - China Flavours and Fragrances Industry Co., Ltd.
Tel. 0-2952-5380-4  Fax. 0-2952-5385  Website. www.tcff-thailand.com
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login