ชัชฎา
พนักงานขาย
092-2494913
[email protected]
เศวตชัย
พนักงานขาย
081-3334986
[email protected]
โปรแกรมระบบขายสินค้า (VAN Sales or SmartSales) สำหรับคอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer)
SmartSales ซอฟต์แวร์ที่ใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ (PDA) ในการขายสินค้าบนรถบรรทุกสินค้า (VAN) และรับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า สามารถ พิมพ์ใบกำกับภาษี หรือใบส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันที รวมทั้งภารกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น ตรวจสอบประวัติการซื้อของลูกค้า การเก็บเงินค้างชำระ ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง และการขอเบิกสินค้าระหว่างทางของพนักงานขาย ทำงานร่วมกับระบบระบุตำแหน่งพิกัดร้านค้าด้วยสัญญาณดาวเทียม (GPS )
Last Update : 06/05/2015 16:01:15
Handheld Computer or Mobile Computer (คอมพิวเตอร์มือถือ) คืออะไร
Handheld Computer อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือถือ ใช้สำหรับพกพาสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Personal Digital Assistant (PDA) โดยคอมพิวเตอร์มือถือสามารถป้อนข้อมูลลงเครื่องผ่านคีย์บอร์ดขนาดเล็ก ซึ่งมีระบบปฏิบัติการ Windows CE และ Windows Mobile เป็นระบบปฎิบัติการในการใช้งาน
Last Update : 06/05/2015 14:29:20
ประเภทเครื่องอ่านบาร์โค้ด Barcode Scanner 2
ประเภทเครื่องอ่านบาร์โค้ด Barcode Scanner ประเภทเครื่องอ่านบาร์โค้ด Barcode Scanner การเลือกใช้งานอุปกรณ์บาร์โค้ดเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน เพราะอุปกรณ์ทุกชิ้นจะมีข้อจำกัดในการใช้งาน เรามาทราบลักษณะรูปร่างของอุปกรณ์กันเลยค่ะ
Last Update : 31/03/2014 10:59:05
ประเภทเครื่องอ่านบาร์โค้ด Barcode Scanner
ประเภทเครื่องอ่านบาร์โค้ด Barcode Scanner การเลือกใช้งานอุปกรณ์บาร์โค้ดเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน เพราะอุปกรณ์ทุกชิ้นจะมีข้อจำกัดในการใช้งาน เรามาทราบลักษณะรูปร่างของอุปกรณ์กันเลยค่ะ
Last Update : 31/03/2014 10:52:42
DataBar : RSS (Reduced Space Symbology)
GS1 DataBar คือบาร์โค้ดอีกรูปแบบหนึ่งที่มีขนาดเล็ก และบันทึกข้อมูลได้มากกว่า บาร์โค้ดในรูปแบบ EAN/UPC ซึ่งในอดีตมีชื่อเรียกว่า RSS (Reduced Space Symbology) โดยบาร์โค้ด GS1 DataBar นี้สามารถบรรจุข้อมูลที่สามารถทำการสืบย้อนกลับที่มาของสินค้าได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกสามารถจำหน่ายสินค้าไปยังประเทศที่ มีมาตรการด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Last Update : 31/03/2014 10:24:13
เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) AAA S30-2D Scanner
Brand : AAA
เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) AAA S30 ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ 2D สามารถตอบสนองความต้องการของการสแกนสภาพของแอพพลิเคชันได้อย่างเหมาะสม ความหลากหลายของอินเตอร์เฟสรองรับอินเตอร์เฟซ Rs232 / USB, ประสิทธิภาพที่คงทนและโดดเด่น
Last Update : 16:48:13 19/10/2018
เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) AAA S20
Brand : AAA
Model : S20
เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) AAA S20 ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ 2D สามารถตอบสนองความต้องการของการสแกนสภาพของแอพพลิเคชันได้อย่างเหมาะสม ความหลากหลายของอินเตอร์เฟสรองรับอินเตอร์เฟซ Rs232 / USB, ประสิทธิภาพที่คงทนและโดดเด่น
Last Update : 16:47:10 19/10/2018
เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) AAA S50 -2D Scanner
Brand : AAA
Model : S50
เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) AAA S50 ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ 1D/2D สามารถตอบสนองความต้องการของการสแกนสภาพของแอพพลิเคชันได้อย่างเหมาะสม ประสิทธิภาพที่คงทนและโดดเด่น
Last Update : 10:51:25 18/10/2018
เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ (Mobile Printer) Woosim WSP-i450
Brand : Woosim
Model : WSP-i450
เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ (Portable Printer or Mobile Printer) จาก Woosim WSP-i450 มีขนาดกะทัดรัด คงทน และประสิทธิภาพในการพิมพ์สูง สามารถพิมพ์ได้กว้าง 4 นิ้ว
Last Update : 10:27:49 18/10/2018
เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ (Mobile Printer) Woosim i350
Brand : Woosim
Model : i350
เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ (Portable Printer or Mobile Printer) จาก Woosim i350 มีขนาดกะทัดรัด คงทน และประสิทธิภาพในการพิมพ์สูง สามารถพิมพ์ได้กว้าง 3 นิ้ว เหมาะสำหรับพกติดตัวในงานพิมพ์นอกสถานที่ ซึ่งใช้งานร่วมกับ Hand held PC, PDA, หรือ NoteBook
Last Update : 10:26:28 18/10/2018

บาร์โค้ดสองมิติ (QR Code)

Last Update : 10:22:14 28/03/2014
Page View (2187)


บาร์โค้ดสองมิติ
         ปัจจุบันได้มีการนำบาร์โค้ดสองมิติมาใช้งานสำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมาก รวมถึงการนำเทคโนโลยี RFID ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูล ผ่านทางคลื่นวิทยุ แทนที่เลเซอร์เหมือนบาร์โค้ดในปัจจุบัน บาร์โค้ดสองมิติ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยที่นิยมใช้กันมากได้แก่

  • §  รหัสคิวอาร์ (QR Code)
  • §  ดาต้าเมทริกซ์ (Data matrix)
  • §  รหัสแม็กซี (MaxiCode)
  • §  รหัสอีซี (EZcode)
  • §  รหัสแอซเทค (Aztec Code)
  • §  เอ็มเอสแท็ก (MS Tag) บาร์โค้ดสองมิติจากไมโครซอฟท์

รหัสคิวอาร์
         รหัสคิวอาร์ (อังกฤษ: QR Code) คือ บาร์โค้ดสองมิติชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยมอดูลสีดำเรียงตัวกัน มีสัณฐานสี่เหลี่ยม มีพื้นหลังสีขาว ที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนคิวอาร์ ในโทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง และสมาร์ตโฟน เพื่อถอดข้อมูลในรูปข้อความหรือโปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากลอื่นๆ โดยรหัสคิวอาร์นี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537 โดย เดนโซ-เวฟ บริษัทลูกของโตโยต้า โดยนับเป็นรหัสแท่งสองมิติประเภทหนึ่งซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น

 

บาร์โค้ดสองมิติ,QR Code,barcode,barcode scanner,barcode printer,1D,2D,Code 39,Code 128,

 

บาร์โค้ด 2 มิติ
         บาร์โค้ด 2 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ โดยออกแบบให้บรรจุข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลมากได้ประมาณ 4,000 ตัวอักษร หรือประมาณ 200 เท่าของบาร์โค้ด 1 มิติในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า ข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่น นอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน หรือ เกาหลี เป็นต้น บาร์โค้ด 2 มิติ สามารถถอดรหัสได้ แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2 มิติ มีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบซีซีดี หรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับบาร์โค้ด 1 มิติ จนถึงโทรศัพท์มือถือ แบบมีกล้องถ่ายรูปในตัว ซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้ ลักษณะของบาร์โค้ด 2 มิติมีอยู่มากมายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น วงกลม สี่เหลี่ยมจตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกันกับบาร์โค้ด 1 มิติ

บาร์โค้ด 2 มิติ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • บาร์โค้ด 2 มิติ แบบสแต๊ก (Stacked Barcode)

         บาร์โค้ดแบบสแต๊กมีลักษณะคล้ายกับการนำบาร์โค้ด 1 มิติมาวางซ้อนกันหลายแนว มีการทำงานโดยอ่านภาพบาร์โค้ดแล้วปรับความกว้างของบาร์โค้ดก่อนทำการถอดรหัส ซึ่งการปรับความกว้างนี้ ทำให้สามารถถอดรหัสจากที่เสียหายบางส่วนได้ โดยส่วนที่เสียหายนั้นต้องไม่เสียหายเกินขีดจำกัดหนึ่งที่กำหนดไว้ การอ่านบาร์ดโค้ดแบบสแต๊ก สามารถอ่านได้ทิศทางเดียว เช่น อ่านจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย และการอ่านจากด้านบนลงล่างหรือจากด้านล่างขึ้นด้านบน  ตัวอย่างบาร์โค้ดแบบสแต๊ก คือ บาร์โค้ดแบบ PDF417 (Portable Data File)

  • บาร์โค้ด 2 มิติ แบบเมตริกซ์ (Matrix Codes)

              บาร์โค้ดแบบเมตริกซ์มีลักษณะหลากหลายและมีความเป็นสองมิติมากกว่าบาร์โค้ดแบบสแต๊กที่เหมือนนำบาร์โค้ด 1 มิติไปซ้อนกัน ลักษณะเด่น ของบาร์โค้ดแบบเมตริกซ์คือ มีรูปแบบค้นหา (Finder Pattern) ทำหน้าที่เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่งในการอ่านและถอดรหัสข้อมูล ช่วยให้อ่านข้อมูลได้รวดเร็วและสามารถอ่านบาร์โค้ดได้แม้บาร์โค้ดเอียง หมุน หรือกลับหัว ตัวอย่างของบาร์โค้ดแบบแมตริกซ์ คือ บาร์โค้ดแบบ MaxiCode , บาร์โค้ดแบบ Data Matrix ,บาร์โค้ดแบบ QR Code

 ข้อดีของการใช้บาร์โค้ด

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน : บาร์โค้ดจะช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น และมีความเที่ยงตรง แม่นยำมากในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น ในบางขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ต้องการความรวดเร็ว มีการติดตามงานที่แม่นยำ ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในการติดตามสถานะของวัตถุดิบ สินค้า หรือส่วนอื่นๆ จะช่วยลดระยะเวลาในการทำงานได้มากขึ้น
  •  ประหยัดเวลา : ระบบบาร์โค้ดจะจัดการจดจำรหัสสินค้า และเลขซีเรียล โดยการสแกนบาร์โค้ดจะช่วยให้ประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากรบุคคล ระบบบาร์โค้ดยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเป็นอย่างมาก
  • ลดข้อผิดพลาด : ข้อผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจากพนักงาน ใส่ข้อมูลผิดพลาด แต่ถ้าใช้บาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูล ความเที่ยงตรง แม่นยำที่มากกว่า จะช่วยลดข้อผิดพลาด ในการทำงานได้เป็นอย่างมาก
  • ลดค่าใช้จ่าย : เมื่อบาร์โค้ดมีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลามากขึ้น ลดอัตราการจ้างงาน คุณก็จะประหยัดเวลาในการทำงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายในโครงการต่างๆ

การทำงานของบาร์โค้ด
         เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะทำงานโดยแยกความกว้างระหว่างพื้นที่มืด และพื้นที่สว่างออกมาเป็นรหัสตัวเลขเมื่อแสงจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดมากระทบบาร์โค้ดในลักษณะวางพาดขวาง แสงสะท้อนที่ออกจากเส้นมืดจะน้อยกว่าแสงที่สะท้อนออกจากพื้นที่สว่าง เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะแปลงแสงสะท้อนนี้เป็นรหัสไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลแบบพกพามีบาร์โค้ดบางแบบที่มีการตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด โดยมีการคำนวนเลขตรวจสอบ (Check digit Calculation) และแสดงค่านั้นๆ มาท้ายของข้อมูลที่อ่านได้ เช่นบาร์โค้ดในแบบ UPC/EAN และการอ่านบาร์โค้ดจะแสดงผลทั้งการอ่านปกติและผลของการเปรียบเทียบของการตรวจสอบบาร์โค้ด และเมื่อพบข้อผิดพลาดของข้อมูลในตัวบาร์โค้ด  เครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือโปรแกรมที่ใช้พิมพ์บาร์โค้ดจะแสดงข้อผิดพลาดดังกล่าวออกมา เพื่อทำการแก้ไขและให้ทำการอ่านบาร์โค้ดหรือพิมพ์บาร์โค้ดใหม่อีกครั้ง 

บาร์โค้ดแบบตัวเลข
         EAN-13(European Article Numbering international retail product code) เป็นแบบบาร์โค้ดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยบาร์โค้ดประเภทนี้จะมีลักษณะเฉพาะของชุดตัวเลขจำนวน 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้

  • 3 หลักแรก  คือ รหัสของประเทศที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ผลิตได้ทำการลงทะเบียนได้ทำการผลิตจากประเทศไหน
  • 4 หลักถัดมา คือ รหัสโรงงานที่ผลิต
  • 5 หลักถัดมา คือ รหัสของสินค้า
  • ตัวเลขในหลักสุดท้าย จะเป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด (Check digit)

         แม้ว่าบาร์โค้ดแบบ EAN-13 จะได้รับการยอมรับไปทั่วโลก แต่ในสหรัฐอเมริกาและแคนนาที่เป็นต้นกำเนิดบาร์โค้ดแบบUPC-A ยังคงมีการใช้บาร์โค้ดแบบเดิม จนวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2005 หน่วยงาน Uniform Code Council ได้ประกาศให้ใช้บาร์โค้ดแบบ EAN-13 ไปพร้อมๆ กับ UPC-A ที่ใช้อยู่เดิม การออกประกาศในครั้งนี้ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาและแคนาดาต้องใช้บาร์โค้ดทั้ง 2 แบบบนผลิตภัณฑ์
การคำนวนตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ดแบบ EAN-13 (Check digit Calculation)

  • นำตัวเลขในตำแหน่งคู่ (หลักที่ 2,4,6,8,10,12 )มารวมกัน แล้วคูณด้วย 3
  • นำตัวเลขในตำแหน่งคี่ (หลักที่ 1,3,5,7,9,11 )มารวมกัน
  • นำผลลัพท์จากข้อ 1 และ 2 มารวมกัน
  • นำผลลัพท์ที่ได้จากข้อ 3 ทำการ MOD ด้วย 10 จะได้เป็นตัวเลข (Check digit ) ที่จะต้องแสดงในหลักที่ 13

         EAN-8  เป็นบาร์โค้ดแบบ EAN ที่เหมาะสมหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก ใช้หลักการคล้ายกันกับบาร์โค้ดแบบ EAN-13 แต่จำนวนหลักน้อยกว่า คือ จะมีตัวเลช 2 หรือ 3 หลัก แทนรหัสประเทศ  4 หรือ 5 หลักเป็นข้อมูลสินค้า และอีก 1 หลักสำหรับตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด (Check Digit) แต่สามารถขยายจำนวนหลักออกไปได้อีก 2 หรือ 5 หลัก ในลักษณะของ Extension Barcode  (UPC-A+2 , UPC-A+5 ) ซึ่งเป็นคนละลักษณะกับการใช้บาร์โค้ดแบบ UPC-E ที่จะต้องพิมพ์ออกมาในรูปแบบเต็มเหมือน UPC-A แต่ทำการตัด 0 (ศุนย์) ออก

         ข้อมูลตัวเลขในสัญลักษณ์บาร์โค้ดแบบ EAN-8 จะบ่งชี้ถึงผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ และเมื่อมีการใช้ EAN-8 มากขึ้นในหลายประเทศ จำนวนของตัวเลขที่นำมาใช้ซึ่งมีจำนวนจำกัดทำให้ไม่เพียงพอกับผู้ใช้จึงหันมาใช้บาร์โค้ดแบบ EAN-13 แทน
UPC-A (Universal Product Code) พบมากในธุรกิจค้าปลีกของประเทศสหรัฐอเมริกา และ แคนนาดา รหัสบาร์โค้ดที่ใช้เป็นแบบ 12 หลัก  หลักที่ 1 เป็นหลักที่ระบุประเภทสินค้า และตัวที่ 12 เป็นหลักที่แสดงตัวเลขที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด       รหัสบาร์โค้ดแบบ UPC มีหน่วยงาน Uniform Council [UCC] ที่ตั้งอยู่รัฐ OHIO ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดูแลในการจดทะเบียนบาร์โค้ด
UPC-E  เป็นบาร์โค้ดแบบ UPC ที่เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก ถูกพัฒนามาจากบาร์โค้ดแบบ UPC-A โดยตัดจะเลข 0 (ศูนย์) ออกทั้งหมด บาร์โค้ด UPC-E สามารถพิมพ์ออกมาได้ขนาดเล็กมาก ไว้ใช้สำหรับป้านขนาดเล็กที่ติดบนตัวสินค้า
Interleaved 2 of 5  เป็นรหัสบาร์โค้ดที่ใช้ในระบบรับ-ส่งสินค้า รหัสบาร์โค้ดแบบนี้เหมาะสำหรับพิมพ์ลงบนกระดาษลูกฟูก มักใช้ในโกดังจัดเก็บสินค้า และอุตสาหกรรมต่างๆ
 

บาร์โค้ดที่ใช้ตัวเลขและตัวอักษร
 
         Code 39 เป็นบาร์โค้ดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ใช้ในงานอุตสาหกรรมและหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชน  นอกจากบาร์โค้ดแบบ Code 39 นี้เรายังรู้จักบาร์โค้ดแบบนี้ในชื่อ 3 Of 9 , USD-3 บาร์โค้ดแบบนี้เป็น รหัสที่ไม่กำหนดจำนวนหลักขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องอ่านบาร์โค้ด และไม่จำเป็นต้องมีตัวเลขในการตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด สามารถแสดงได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร รวมถึงอักขระพิเศษ (ASCII) มีการเพิ่มเครื่องหมาย “*” ที่หลักแรกและหลักสุดท้ายเพื่อบอกตำแหน่งเริ่มต้น และตำแหน่งสิ้นสุดนิยมใช้ในการทำงานเกี่ยวกับรหัสที่ต้องระบุเป็นตัวอักษร
Code 128 เป็นบาร์โค้ดที่มีสามารถกำหนดความยาวได้หลายหลายขนาด ขึ้นอยู่กับจำนวนและชนิดของอักษรบาร์โค้ดเป็นที่นิยมในการใช้งานและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก มีการใช้บาร์โค้ดแบบนี้มากกว่าบาร์โค้ดแบบ Code 39 แม้ว่าจะบาร์โค้ดประเภทนี้จะใช้ได้ทั้ง ตัวเลขและตัวอักษร แต่ไม่สามารถแสดงอักขระพิเศษได้ โดยจะเข้ารหัสระหว่าง ASCII (0-127)
บาร์โค้ด 2 มิติ

         PDF417 (Portable Data File) เป็นบาร์โค้ด 2 มิติแบบสแต๊ก ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1992 โดยบริษัท Symbol Technologies ประเทศสหรัฐอเมริกา บาร์โค้ดแบบ PDF417 สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 15438 และ AIM USS-PDF417 ลักษณะบาร์โค้ดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีส่วนแทนรหัสข้อมูลหรือที่เรียกว่าโมดูลข้อมูล (Data Module) เป็นแถบสีดำและสีขาวเรียงตัวกันหลายๆ แถวทางแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งประกอบด้วย 3 ถึง 90 แถว และ 1 ถึง 30 คอลัมน์ สามารถบรรจถข้อมูลได้มากสุดถึง 2,710 ตัวเลข 1,850 ตัวอักษร 1,018 ไบนารี คำว่า PDF ย่อมาจาก Portable Data File และประกอบไปด้วย 4 แถบ และ 4 ช่องว่างใน 17 โมดูล จึงทำให้ได้หมายเลข 417 เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะสามารถอ่านได้ในทิศทางเดียว เช่น อ่านจากทางซ้ายไปขวา หรือ ขวาไปซ้าย และอ่านจากบนลงล่าง หรือ ล่างขึ้นบน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่บาร์โค้ดแบบ PDF 417 จะนำไปใช้กับงานที่ต้องการความละเอียด และถูกต้องเป็นพิเศษ


         Data Matrix บาร์โค้ด 2 มิติแบบนี้ ถูกพัฒนาดโดยบริษัท RVSI Acuity Cimatrix ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1989 สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 16022 และ ANSI/AIM BC11-ISS-Data Matrix ลักษณะบาร์โค้ดมีทั้งรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับบาร์โค้ดรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมีโมดูลข้อมูลระหว่าง 10 x 10 ถึง 144 x 144 โมดูล และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี 8 x 18 ถึง 16 x 48 โมดูล Data Matrix สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 3,116 ตัวเลข หรือ 2.355 ตัวอักษร แต่สำหรับข้อมูลประเภทอื่นได้แก่ข้อมูลเลขฐานสองบรรจุได้ 1,556 ไบต์ (1 ไบต์เท่ากับเลขฐานสอง 8 หลัก) และตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นบรรจุได้ 778 ตัวอักษร รูปแบบค้นหาของบาร์โค้ดแบบ Data Matrix อยู่ที่ตำแหน่งของด้านซ้ายและด้านล่างของบาร์โค้ด บาร์โค้ด Data Matrix ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่มีพื้นที่จำกัดและต้องการบาร์โค้ดขนาดเล็ก

ขอขอบคุณ

http://www.barcodethai.com/onlineth15/index.php?option=com_content&view=article&id=23&Itemid=39&l
http://pieninnara.blogspot.com/p/blog-page_6742.html

http://www.rbs.co.th/TipsBarcode/%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4-QR-Code.html



 
© 2000-2008 CopyRight by Retail Business Services Co., Ltd.
Tel. 0-2743-4595  Fax. 0-2743-4566  Website. anyworkanywhereanytime.com
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login