เรื่องของเท้าที่ไม่ควรก้าวข้าม
เชื่อมั้ยว่า 70% ของประชากรโลกมีอาการเสี่ยงต่อปัญหาปวดส้นเท้า เข่า และกระดูกสันหลัง โดยสาเหตุจากความผิดปกติของเท้า
Last Update : 16/11/2013 13:36:11
ภาวะมะเร็งเข้ากระดูก
โดยปกติจะเริ่มตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆ เลยในระยะแรก ต่อมาจะเริ่มปวดนิดๆ และปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กระดูก ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกปวดมากจนทนไม่ไหวและไปพบแพทย์ เมื่อถึงช่วงนั้นความรุนแรงของภาวะมะเร็งเข้ากระดูกก็มีสูง หากเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคคือ ขั้นที่ 4 ซึ่งยากต่อการรักษาให้หาย
Last Update : 16/11/2013 10:37:21
การบริหารส่วนขาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นต้องมีการปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบหมุนเวียนเลือดของขา และเท้าโดยการออกกำลังกายเป็นประจำ และการอดบุหรี่ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
Last Update : 08/11/2013 13:54:10
ผู้หญิง..วัยหมดประจำเดือนระวังเข่าเสื่อม!!
มื่ออายุมากขึ้นร่างกายย่อมเสื่อมโทรมไปตามวัยเป็นธรรมดา โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องผจญกับโรคภัยทางสุขภาพของสตรี
Last Update : 08/11/2013 10:39:35
การปฐมพยาบาล ข้อ, กระดูก
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆ หรือเจ็บป่วยกระทันหัน ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้พ้นอันตราย ก่อนที่จะส่งไปให้แพทย์รักษาต่อไป โดยใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือเท่าที่หาได้ในขณะนั้น
Last Update : 07/11/2013 15:05:44
ผ้าฟองน้ำทำความสะอาดอเนกประสงค์
Brand : Spa Wet
Model : Spa Wet
Last Update : 10:38:35 10/12/2014
ชุดกิ๊ฟเซ็ทคลีนชูส์
Brand : KLEEN SHOES
Model : gift set kleen shoes
Last Update : 13:15:42 28/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส(หัวเข่า)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plus (knee)
Last Update : 16:21:11 27/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส (ข้อเท้า)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plus (ankle)
Last Update : 16:19:30 27/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส (ข้อศอก)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plush (elbow)
Last Update : 16:17:45 27/11/2014

อาการเจ็บเอ็นร้อยหวาย

Last Update : 14:25:24 07/11/2013
Page View (2196)

 

 

     อาการเจ็บเอ็นร้อยหวาย

   เอ็นร้อยหวายนั้นภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “Achilles tendon” เป็นเส้นเอ็นประเภทหนึ่งที่เชื่อมต่อระหว่างส้นเท้ากับกล้ามเนื้อน่องส่วนล่าง (lower calf muscle) กล้ามเนื้อที่ขานี้เป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและทรงพลังที่สุดของร่างกาย ซึ่งทำให้เอ็นร้อยหวายนี้มีขนาดใหญ่และแข็งแรงที่สุดในบรรดาเส้นเอ็นทั้งหมด

   การหดตัวของกล้ามเนื้อน่องจะไปดึงเอ็นร้อยหวาย ซึ่งจะไปกดฝ่าเท้าลงล่าง ขบวนการทำเช่นนี้ก่อให้เกิดกิจกรรมของเราก็คือ การยืนด้วยปลายเท้า, การเดิน, การวิ่ง, การกระโดด หรืออื่นๆที่ใช้ฝ่าเท้าควบคุม

   น้ำหนักของคนเรานี้มีผลต่อแรงที่เข้าไปกระทำต่อเอ็นร้อยหวาย ในบางครั้งแรงต่างๆที่เข้ากระทำต่อเอ็นร้อยหวายนี้มีมากถึง 3-12 เท่าของน้ำหนักตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมหรือว่าสถาวะแวดล้อมด้วยเช่น การวิ่ง Sprint จะมีแรงที่กระทำต่อเอ็นร้อยหวายมากกว่าการเดินปรกติ

 

 

   โดยที่อาการเจ็บนี้จะเกิดขึ้นจากแรงต่างๆที่กระทำเข้ามาที่เอ็นร้อยหวาย อายุที่เพิ่มมากขึ้นและการเพิ่มความหนักของกิจกรรมที่ทำก็มีส่วนทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ ในทางการแพทย์นั้นการเจ็บของเอ็นร้อยหวายนั้นจะมีอยู่หลายประการด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะไปเกิดตรงบริเวณไหนของเส้นเอ็นและลักษณะของการอักเสบ

     สาเหตุของอาการเจ็บ

การเจ็บเอ็นร้อยหวานนี้จะเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน และอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุรวมๆกัน

     • การใช้งานมากเกินไป

   การเพิ่มกิจกรรมที่ต้องใช้เท้ามากเกินไปหรือหนักเกินไปในเวลาอันสั้น ไม่ได้มีการฝึกซ้อมหรือ
เตรียมพร้อมให้ดีก่อนมีโอกาสเจ็บเอ็นร้อยหวายได้เช่น การวิ่งหรือเดินที่ยาวเกินไป เร็วเกินไป หรือการ
วิ่งขึ้นเขาหรือทางที่ชัน

     • ความผิดปรกติของเท้า

   ลักษณะทางกายภาพของเท้านั้น ก็มีส่วนทำให้เจ็บเอ็นร้อยหวายได้ เช่น การที่ขายาวสั้นไม่เท่ากัน หรือเท้าที่เอียง (over/under pronation) หรือการที่มีกล้ามเนื้อน่อง สั้น ตึง เกินไป หรือไม่แข็งแรง

     • ใช้รองเท้าไม่ถูกต้อง

   รองเท้าเองก็มีส่วนทำให้เกิดอาการเจ็บเอ็นร้อยหวายได้เช่นเดียวกัน เช่นการใช้รองเท้าที่ผิดประเภทไม่เหมาะสมกับกีฬาที่เล่น หรือการใส่รองเท้าส้นสูง

     • ผลแทรกซ้อนเนื่องจากการใช้ยา

     • อุบัติเหตุ

   อุบัติเหตุต่างๆนั้นมีส่วนทำให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน

อาการของการเจ็บเอ็นร้อยหวาย
ผู้ที่เจ็บเอ็นร้อยหวายนั้นจะรู้สึกปวดบริเวณเส้นเอ็น และเจ็บบริเวณส้นเท้า บางครั้งก็รู้สึกเจ็บเมื่อพยายามงอเท้า ในบางกรณีที่เส้นเอ็นฉีกขาดนั้น ผู้ป่วยอาจจะไม่สามารถที่จะงอเท้าขึ้นได้เลย

     การป้องกันและการรักษา

   วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันการบาดเจ็บนั้นคือต้องให้กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณนั้นได้ถูกฝึกให้สามารถรับแรงต่างๆที่จะเกิดขึ้น

     • การยืดกล้ามเนื้อน่องและเส้นเอ็นร้อยหวาย

   ในการป้องกันการบาดเจ็บเอ็นร้อยหวายนั้น จะต้องทำการยืดกล้ามเนื้อตรงส่วนบริเวณกล้ามเนื้อน่อง หรือ
บริเวณเอ็นร้อยหวายโดยตรง

 

      • หลีกเลี่ยงกิจกรรม High impact ต่างๆ

   หลีกเลี่ยงกิจกรรมเช่น การวิ่งขึ้นเขา การกระโดด โดยมิได้เตรียมพร้อมร่างกายตรงส่วนนั้นให้พร้อ
มเสียก่อน 

   เมื่อมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นแล้ว นอกจากการทำการยืดกล้ามเนื้อ หรือพักกิจกรรมส่วนนั้นแล้วยังสามารถลดความเจ็บปวดได้จาก

     • Ice packs

   ใช้ประคบตรงส่วนที่ปวด และเปลี่ยนกิจกรรมไปทำอย่างอื่น ที่มีผลกระทบต่อเอ็นร้อยหวายน้อยกว่า 
เช่นการว่ายน้ำ ขี่จักรยาน

     • การเลือกใช้รองเท้าและถุงเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมเหล่านั้น

     • การใส่เฝือก

   การใส่เฝือกจะถูกใช้เมื่อเส้นเอ็นเกิดการฉีกขาด เฝือกจะถูกใช้ไม่ให้ขาไม่ต้องเคลื่อนไหว เพื่อที่จะให้การรักษาตัวเองเร็วขึ้น

     • การผ่าตัด

   จะถูกเลือกใช้เมื่อเส้นเอ็นมีการฉีกขาดเช่นเดียวกับการใส่เฝือก แต่การผ่าตัดจะใช้เวลาในการรักษาตัว
เร็วกว่าการใส่เฝือกถึงกระนั้นการผ่าตัดก็ควรจะถูกใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น 





 
© 2000-2008 CopyRight by M C I International Co., Ltd.
Tel. 02-223-5549  Fax. 02-225-1494
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login