เรื่องของเท้าที่ไม่ควรก้าวข้าม
เชื่อมั้ยว่า 70% ของประชากรโลกมีอาการเสี่ยงต่อปัญหาปวดส้นเท้า เข่า และกระดูกสันหลัง โดยสาเหตุจากความผิดปกติของเท้า
Last Update : 16/11/2013 13:36:11
ภาวะมะเร็งเข้ากระดูก
โดยปกติจะเริ่มตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆ เลยในระยะแรก ต่อมาจะเริ่มปวดนิดๆ และปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กระดูก ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกปวดมากจนทนไม่ไหวและไปพบแพทย์ เมื่อถึงช่วงนั้นความรุนแรงของภาวะมะเร็งเข้ากระดูกก็มีสูง หากเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคคือ ขั้นที่ 4 ซึ่งยากต่อการรักษาให้หาย
Last Update : 16/11/2013 10:37:21
การบริหารส่วนขาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นต้องมีการปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบหมุนเวียนเลือดของขา และเท้าโดยการออกกำลังกายเป็นประจำ และการอดบุหรี่ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
Last Update : 08/11/2013 13:54:10
ผู้หญิง..วัยหมดประจำเดือนระวังเข่าเสื่อม!!
มื่ออายุมากขึ้นร่างกายย่อมเสื่อมโทรมไปตามวัยเป็นธรรมดา โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องผจญกับโรคภัยทางสุขภาพของสตรี
Last Update : 08/11/2013 10:39:35
การปฐมพยาบาล ข้อ, กระดูก
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆ หรือเจ็บป่วยกระทันหัน ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้พ้นอันตราย ก่อนที่จะส่งไปให้แพทย์รักษาต่อไป โดยใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือเท่าที่หาได้ในขณะนั้น
Last Update : 07/11/2013 15:05:44
ผ้าฟองน้ำทำความสะอาดอเนกประสงค์
Brand : Spa Wet
Model : Spa Wet
Last Update : 10:38:35 10/12/2014
ชุดกิ๊ฟเซ็ทคลีนชูส์
Brand : KLEEN SHOES
Model : gift set kleen shoes
Last Update : 13:15:42 28/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส(หัวเข่า)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plus (knee)
Last Update : 16:21:11 27/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส (ข้อเท้า)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plus (ankle)
Last Update : 16:19:30 27/11/2014
สปอร์ตซัพพอร์ตพลัส (ข้อศอก)
Brand : KLEEN SHOES
Model : Sport Support Plush (elbow)
Last Update : 16:17:45 27/11/2014

โรคที่เกี่ยวกับเล็บเท้า

Last Update : 16:56:35 04/11/2013
Page View (2200)


     1.)  เล็บขบ  (Unguis Incarnatus) คือเกิดจากเล็บที่งอกลึกลงไปในชั้นผิวหนังบริเวณรอบๆ เล็บเท้า สามารถทำให้มีอาการปวดอย่างรุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการอักเสบ  เป็นหนอง  หรือมีอาการติดเชื้อ

  1. เกิดจากการที่เราใส่รองเท้าและถุงเท้าที่รัดเกินไปจนกระดูกนิ้วเท้าเบียดซ้อนเกยกัน
  2. เกิดจากการตัดเล็บที่ไม่ถูกต้อง หรือลึกจนเกินไป
  3. เกิดจากการที่นิ้วเท้ามาซ้อนเกยหรือเบียดกัน
  4. เกิดจากการที่ปลายนิ้วเท้าไปชนหรือกระแทกของแข็งอย่างแรง หรือจากการเล่นกีฬา เทนนิส แบตมินตัน ฟุตบอล บาสเตบอล กีฬาเหล่านี้จะถำให้กระดูกนิ้วทำทำงานหนัก

วิธีการรักษา
ผู้เชี่ยวชาญด้านโพโดจิสต์จะมีกรรไกรตัดเล็บชนิดพิเศษ ที่ทำมุมองศาในการตัดเอาเล็บขบออกได้  และมีเครื่องเซาะเล็บไฟฟ้า  โดยจะไม่ใช้วิธีถอดเล็บซึ่งจะทำให้เจ็บมากและแผลอาจจะติดเชื้อได้ง่าย ทำให้เล็บที่งอกออกมาใหม่ไม่สวยงาม  จากนั้นจะใช้วิธีจัดเล็บโดยใช้วัสดุยกแผ่นเล็บขึ้นเพื่อแก้ปัญหาแบบถาวร
วิธีการป้องกัน

  1. ควรตัดเล็บให้ถูกวิธีทางโครงสร้าง คือ ตัดในแนวตรงและด้านบนตัดแบบจอบ
  2. ใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดี ใส่สบายไม่คับแน่นเกินไป
  3. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสียดสีหรือ การชนกระแทก



     2).โรคเล็บกระเบื้อง Gryposis คือการที่เล็บได้รับการเสียดสี หรือ กระแทกจากการทำกิจกรรมเสี่ยง ทำให้อากาศเข้าไปแทรกตัวในชั้นเซลล์เล็บ ทำให้เล็บสร้างตัวเป็นชั้นหนาๆ ทำให้เชื้อโรคเช่นแบคทีเรีย ไปแทรกตามชั้นเล็บ สีเล็บจะเข้มและหนามาก หากไม่รักษาจะทำให้เล็บเสีย 

วิธีการรักษา 
1).ทำการกรอเล็บให้บางที่สุดจน ถึงชั้นปกติ 
2).ทำการพ่นไฮโดรเจ้น  เปอร์ออกไซด์ 3 เปอร์เซ็นต์เพื่อทำความสะอาดเล็บและฆ่าเชื้อโรค 
3).ตัดแต่งเล็บให้ถูกต้องตามลักษณะทางโครงสร้าง 
4.)ใช้น้ำมันบำรุงเล็บทาสม่ำเสมอ




     3).เล็บเหลืองจากการทาเล็บเป็นเวลานาน การที่สุภาพสตรีทาเล็บเป็นเวลานาน จะทำให้เล็บขาดการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ที่จะช่วยในการเจริญเติบโตของเล็บ และผลัดเซลล์เล็บ ทำให้เล็บเป็นสีเหลือง หรือ สีเข้ม    ดังนั้นไม่ควรที่จะทาเล็บติดต่อกันเป็นเวลานาน และหมั่นทำความสะอาดเล็บโดยใช้แปรงอ่อนขัด ถู ก็จะช่วยให้เล็บไม่เหลืองได้ 

วิธีการรักษา 
1). ทำการกรอชั้นเล็บที่เหลืองออกโดยใช้หัวกรอแบบละเอียด 
2).พ่นสเปรย์รักษาเล็บและตัดแต่งให้สวยงาม 
3.)ใช้น้ำมันบำรุงเล็บทาสม่ำเสมอ 
เล็บเป็นอวัยวะส่วนที่ปกป้องและส่วนที่ทำให้นิ้วมือและเท้ามีความมั่นคง ซึ่งเล็บทั้งสิบนิ้วนี้เองที่เป็นส่วนให้ความสวยงามแก่นิ้วมือและนิ้วเท้า เมื่อเราเป็นเด็กการเจริญเติบโตของเล็บก็จะสมบูรณ์และไวกว่าผู้สูงอายุ  รวมทั้งความหนาของเล็บด้วย ซึ่งทางการแพทย์เยอรมันได้จำแนกความผิดปกติของเล็บไว้ดังนี้


     4.) โรคเล็บพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว (Onych oschisis) เกิดจากการที่เล็บงอกไม่สมบูรณ์ ทำให้เล็บบริเวณขอบเล็บ และแผ่นเล็บไม่สัมผัสกัน , หรืออีกสาเหตุเกิดจากการทำงานที่ต้องได้รับความเปียกชื้น อยู่ตลอดเวลา เช่น การล้างมือ , ล้างจาน , การทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่นช่างทำเล็บ ,ทำสีผม ฯลฯ 
อาการเซลล์เล็บบริเวณขอบเล็บจะถูกทำลาย มีสีขาวซีดและจะลามไปจนถึงแผ่นเล็บและส่วนเล็บชั้นใน บางครั้งมีอาการแสบคัน 

วิธีการรักษา 
ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตัด ทำการตัดแต่งเล็บที่เสียออกและทำการบำรุงรักษาเล็บที่ดีไว้ ซึ่งคนไข้ต้องหลีกเลี่ยงการโดนน้ำ , น้ำสบู่ คือสารเคมี  ใส่ถุงมือเวลาทำกิจกรรมเสี่ยง


     5.) โรคเล็บม้วน (Tubenail) คือความผิดปกติของเล็บที่เป็นมากโดยเฉพาะนิ้วโป้งเท้า  ส่วนมากจะเกิดกับสตรีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และเกิดจากความผิดปกติโดยกำเนิด
อาการคือแผ่นเล็บ จะม้วนตัวเข้าด้านข้างของผิวหนังบริเวณนิ้วเท้าทั้ง 2 ด้าน จะมีอาการปวดมากเพราะเล็บจะม้วนฝังเข้าไปในชั้นผิวหนัง บางรายอาจมีอาการอักเสบ  เป็นหนอง ติดเชื้อ

วิธีการรักษา
ผู้เชี่ยวชาญจะทำการจัดเล็บ และตัดแต่งเล็บเพื่อปรับโครงสร้างจากการเจริญของเล็บในองศาที่ถูกต้อง



 ***คุณรู้หรือไม่ว่าความเครียดส่งผลต่อสุขภาพเล็บและทำให้เล็บผิดปกติ (Nail Psoriasis)  ความเครียดนอกจากจะส่งผลกระทบต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน เช่น หลอดเลือด , คลอเลสเตอรอล , หัวใจ  ฯลฯ  ซึ่งจากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน พบว่าความเครียดส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและโครงสร้างของเล็บมือ , เล็บเท้า

ลักษณะอาการที่สังเกต
คือคุณไม่ได้ทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นเชื้อราที่เล็บ แต่ทำไมเล็บคุณถึงได้ผิดปกติ เช่น เปื่อย  เป็นคลื่นลอน  เล็บแตก  ถ้าโดยผิวเผินจะมีลักษณะเหมือนเชื้อรา ดังนั้นการทาครีมป้องกันเชื้อรา หรือการทายาจึงจะไม่ได้ผลในการรักษา

วิธีการรักษา

  1. ทำการแก้ไขบริเวณเล็บที่ผิดปกติ โดยโพโดโลจิสต์ จะมีความเชี่ยวชาญในการปรับสภาพเล็บโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย
  2. การลดความเครียด , พักผ่อนให้เพียงพอ
  3. การทานวิตามินและอาหารที่ช่วยบำรุงเล็บจำพวกโปรตีน(เคราตีน) ธาตุเหล็ก  แคลเชียม  สังกะสีซึ่งพบมากใน ถั่ว  นม  พืชผัก  เนื้อสัตว์





 
© 2000-2008 CopyRight by M C I International Co., Ltd.
Tel. 02-223-5549  Fax. 02-225-1494
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login