Rangsan D.
ประสานงานขาย
099-4286999
[email protected]
ตับทำหน้าที่อะไร
ตับทำหน้าที่อะไร
Last Update : 18/07/2011 17:33:09
ความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางเสียง
มลพิษทางเสียง (สวัสดิ์ โนนสูง และสุธีลา ตุลยะเสถียร และคณะ)
Last Update : 12/07/2011 03:40:57
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารละลายและเครื่องมือวิเคราะห์น้ำ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารละลายและเครื่องมือวิเคราะห์น้ำ
Last Update : 12/07/2011 03:06:10
The Eddy Covariance
(แปลจาก A Brief Practical Guide to Eddy Covariance Flux Measurements; G. Burba and D. Anderson)
Last Update : 11/07/2011 19:07:16
กัมมันตภาพรังสีคืออะไร ?
รังสีนิวเคลียร์ทั่วไป รังสีแอลฟา (a) แอลฟาเป็นอนุภาคที่มีคุณสมบัติเหมือนนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม (2He4 ) ในแต่ละอนุภาคแอลฟาจะมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกสองหน่วย (ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และ นิวตรอน 2 อนุภาค) รังสีเบต้า (b) เบต้าเป็นอนุภาคที่มีมวลและค่าประจุไฟฟ้าเท่ากับอิเลคตรอน ในแต่ละอนุภาคมีประจุไฟฟ้าหนึ่งหน่วย ถ้าประจุเป็นบวก เรียกว่า อนุภาคเบต้าบวก ( b+ ) หรือ โปสิตรอน หากประจุเป็นลบ เรียกว่าอนุภาคเบตาลบ ( b- ) โดยทั่วๆไปหากเรียกแต่เพียง เบต้า จะหมายถึง อนุภาคเบต้าลบ ทำให้เกิดรังสีในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกว่า Bremsstrahlung หรือ Braking Radiation ซึ่งมีพลังงานตั้งแต่ 0 ถึงพลังงานสูงสุดของรังสีเบตา และมีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีเบตา (วัตถุที่ขวางกั้นรังสีเบตาที่มี Atomic number ต่ำกว่า) รังสีแกมมา (g) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียส มีความถี่อยู่ในช่วงประมาณ 1018 ถึง 1021 Hz และมีพลังงานสูง รังสีเอ็กซ์ (x-rays) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับรังสีแกมมา แต่แผ่ออกมาจากวงโคจรของอิเลคตรอน รังสีเอ็กซ์มีพลังงานต่ำกว่า รังสีแกมมา และมีความถี่อยู่ในช่วงประมาณ 1015 ถึง 1022 Hz รังสีเอ็กซ์มีอยู่สองชนิดได้แก่ Continuous X-rays หรือ Bremsstrahlung และ Characteristic X-rays รังสีนิวตรอน (n) เป็นอนุภาคที่ไม่มีประจุไฟฟ้า มีอำนาจในการทะลุทะลวงสูง นิวตรอนไม่อาจอยู่อย่างอิสระ จะสลายตัวไปเป็นโปรตรอน อิเลคตรอน และแอนตินิวตริโน ภายในเวลาประมาณสิบสองนาที
Last Update : 11/07/2011 13:11:09
กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง
Brand : คาเฟ่ 7 เลก้า
Model : CAFE 7 LEGA
กาแฟเพื่อสุขภาพ คาเฟ่ 7 เลก้า กาเฟปรุงสำเร็จชนิดผง ติดต่อ รังสรรค์ (น้องอิงฟ้า) 099-4286999 line ID : rangsand
Last Update : 11:04:19 02/02/2024
คาเฟ่ 7 โกลด์ แบรนด์
Brand : CAFE`7 GOLD
Model : CAFE`7 GOLD
กาแฟฟรีเมี่ยมอาราบิก้า หอมเข้มข้น อุดมด้วยสุดยอดสมุนไพร 4 ราชา แห่งการบำรุงสมรรถภาพร่างกาย ตัดสรรสารสกัดจากสมุนไพรตามตำรับยาจีนโบราณ คุณสมบัติโดดเด่นในการบำรุงกำลังร่างกาย
Last Update : 19:42:46 19/04/2020
คาเฟ่ 7 เจบี
Brand : คาเฟ่ 7 เลก้า แบรนด์
Model : CAFE 7 JB คาเฟ่ 7 เจบี แบรนด์
CAFE 7 JB คาเฟ่ 7 เจบี แบรนด์
Last Update : 19:41:43 19/04/2020
ลูทีเนส ตัวช่วยดูแลดวงตา
Brand : Luteines
Model : ลูทีเนส
ดูแลสุขภาพดวงตา
Last Update : 14:45:09 03/04/2020
ระบบการจัดการฐานข้อมูล
Brand : Ingfah Tech
Model : Call Center
Data Center
Last Update : 06:12:42 11/05/2019

ความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางเสียง

Last Update : 03:40:57 12/07/2011
Page View (2183)
มลพิษทางเสียง (noise pollution) เสียงดัง (loud noise) หรือเสียงรบกวน (noise) หมายถึง สภาวะที่มีเสียงดังเกินปกติ หรือเสียงดังต่อเนื่องยาวนานจนก่อให้เกิดความ รำคาญหรือเกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนุษย์ และหมายรวมถึงสภาพแวดล้อม ที่มีเสียงสร้างความรบกวน ทำให้เกิดความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้ตกใจ หรือบาดหูได้ เช่น เสียงดังมาก เสียงต่อเนื่องยาวนานไม่จบสิ้น เป็นต้น
มลพิษทางเสียง เป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อม ของเมืองใหญ่ที่เกิดพร้อมกับ การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ว่า จะเป็นเสียงดังจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ เสียงดังจาก เครื่องจักร เสียงดังจากการ ก่อสร้าง เสียงดังจากเครื่อง ขยายเสียง โทรทัศน์ วิทยุ และอุปกรณ์สื่อสาร เสียงเรียก เข้าโทรศัพท์มือถือ รวมทั้ง เสียงสนทนาที่ดังเกินควรและไม่ถูกกาลเทศะ
         ผลกระทบจากมลพิษทางเสียง (WHO, USEPA, LHH, คพ., สส. และ ศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ)
         เป็นที่ตระหนักกันดี ในวงการแพทย์แล้วว่า มลพิษทางเสียงส่งผลร้ายต่อการได้ยิน สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ได้แก่
           1. การได้ยิน: การสูญเสียการได้ยิน เสียงดังรบกวน เกิดเสียงหวีดก้องในหูหรือในสมอง
           2. สุขภาพกาย: ความดันโลหิตสูง ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว มือเท้าเย็น การไหลเวียนกระแสโลหิตบกพร่อง จนถึงโรคหัวใจ
           3. สุขภาพจิต: การรบกวนการพักผ่อน เกิดความเครียด และสภาวะตื่นตระหนก ซึ่งพัฒนาไปสู่อาการเจ็บป่วยเศร้าซึม
           และโรคจิตประสาทได้
           4. สมาธิ ความคิด และการเรียนรู้: การรบกวนสมาธิ การคิดค้น วิเคราะห์ข้อมูล และการลดประสิทธิภาพการเรียนรู้
           และการตั้งใจรับฟัง
           5. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน: การรบกวนระบบและความต่อเนื่องของการทำงาน และทำให้งานล่าช้า
           ลดทั้งคุณภาพและปริมาณ
           6. การติดต่อสื่อสาร: ขัดขวางการได้ยิน และทำให้ต้องตะโกนสื่อสารกัน ทำให้การสื่อสารบกพร่อง เกิดความเพี้ยนใน
           การได้ยิน ในเด็กเล็กที่กำลังเรียนพูด จะถ่วงพัฒนาการในการฟัง การพูด และการออกเสียง ในผู้ใหญ่จะเป็นอุปสรรค
           ต่อการรับฟังสัญญาณเตือนภัย อันอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและอันตราย
           7. การกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว: เสียงดังเร้าอารมณ์ให้สร้างความรุนแรง ทำร้ายผู้อื่น
           8. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม: กระตุ้นให้เกิดค่านิยมในความรุนแรง ไม่เคารพสิทธิในความสงบสุขของผู้อื่น
           และสังคมโดยรวม และการขาดมารยาทสังคมที่ดีงาม

ผลกระทบของเสียงอึกทึก ต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ
    การสูญเสียการได้ยิน (Hearing Loss) ทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ( หมายถึง ไม่สามารถ
    ได้ยินเสียง ที่ระดับความดัง 25 เดซิเบลเอ ได้ในห้องเก็บเสียง) สำนักงานคุ้มครอง
    สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (USEPA) กำหนดไว้ว่า ประชาชนไม่ควรสูญเสียการได้ยิน
    เกินกว่า 5 เดซิเบลเอ หลังจากสัมผัสเสียงเป็นเวลา 40 ปี การได้ยินเป็นองค์ประกอบสำคัญ
    ในการสื่อความหมายและติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน การสูญเสียการได้ยิน จึงเป็นการ
    ขัดขวางการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข ถือเป็นความพิการอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่า เทคโนโลยี
    ในปัจจุบัน สามารถหาทางชดเชยความพิการนี้ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่
    บุคคลและสังคม ทั้งในด้านค่าใช้จ่าย สำหรับอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน การบำบัดทั้งทางด้าน
    ร่างกายและจิตใจเพื่อการดำเนินชีวิตต่อไป โดยไม่ได้ยินเสียง การสร้างสื่อพิเศษเพิ่มเติม
    จากสื่อปกติ และการเพิ่มข้อจำกัดในการประกอบอาชีพ

    ผลกระทบจากมลพิษทางเสียง มีผลรุนแรงต่อทารกและเด็กที่เปราะบางมากกว่าต่อผู้ใหญ่
    ทั้งในด้านสุขภาพ ร่างกาย ได้แก่ ความผิดปกติของทารกแรกเกิด และการสูญเสียการ
    ได้ยิน ตั้งแต่วัยเยาว์ และด้านพัฒนาการและสุขภาพจิต ได้แก่ การขัดขวางการพัฒนา
    ทักษะในการแยกแยะเสียง การพูด และการรับฟัง รวมถึงความหงุดหงิดก้าวร้าวในเด็ก

มลพิษทางเสียงกับสุขภาพจิตและความอยู่สุขในสังคม (USEPA)
 
      ถ้าหากว่า ในโลกนี้มีตัวการใดที่ลดระดับคุณภาพชีวิตของเรา ในที่ต่างๆ ตัวการนั้น คงจะเป็นเสียงดังที่รบกวนเราทั้งที่บ้าน
      ที่ทำงาน และที่สาธารณะ หนึ่งในการรบกวนที่น่ารำคาญอย่างยิ่งนี้คือการรบกวนการสนทนา เราอาจจะไม่ตระหนักถึง
      การรบกวนนี้ตลอดเวลา แต่บ่อยครั้งที่เราต้องพูดดังขึ้นเพื่อให้ผู้อื่นได้ยิน และผู้อื่นก็ต้องทำแบบเดียวกันเพื่อให้เราเข้าใจ
      การสูญเสีย ความสามารถในการพูดในระดับปกติเพื่อให้ผู้อื่นได้ยินอาจเป็นผลร้ายมากกว่าที่เราตระหนักถึง ผู้คนที่อาศัย
      อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมีแนวโน้มที่จะปรับสภาพชีวิตที่หลีกหนีการสนทนาและการปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม พวกเขาหยุด
      พูดโดยไม่มีมูลเหตุ เปลี่ยนสาระของการสนทนากลางคัน พูดเฉพาะเมื่อจำเป็นอย่างยิ่ง และมักจะต้องพูดซ้ำย้ำในสิ่งที่
      พูดไปแล้ว พฤติกรรมเหล่านี้ อาจเป็นสิ่งที่คุ้นเคยสำหรับเราเอง
      เมื่อเสียงดังรบกวนดังมากถึงระดับ หรือก่อให้เกิดความตกใจหรือสร้างความเครียดที่มากถึงระดับ การรบกวนนี้จะก่อให้
      เกิดพฤติกรรมและการตอบสนองทางอารมณ์ที่รุนแรงได้ และเมื่อถึงระดับนี้อารมณ์ของมนุษย์เราจะพลุ่งพล่านและ
      เรา อาจจะ "สูญเสียการควบคุมตนเอง" ได้แม้ถูกรบกวนเพียงเล็กน้อย
ถึงแม้ว่าพฤติกรรมรุนแรงเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก เนื่องจากคนส่วนใหญ่
    จะพยายามอดทนกับเสียงดังที่ รบกวนตน ทั้งโดยการซ่อนและสกัด
    ความหงุดหงิดไว้ภายใน โทษตนเองที่โมโหง่าย ทนทุกข์ทรมานอยู่ภายใน
    ปฏิเสธปัญหา คิดว่าตนเองนั้นเก่ง สามารถอดทนได้ ใช้ที่อุดหู ใช้ยา
    นอนหลับ ปิดหน้าต่าง จัดห้องนอนใหม่ หรือแม้แต่ไปปรึกษาจิตแพทย์
    หากแต่การกระทำเหล่านี้ ไม่ได้ช่วยขจัดปัญหาออกไปเลย รังแต่จะสะสม
    ปัญหาให้พอกพูนขึ้น และคนที่ไม่สามารถกดปัญหานี้ไว้ในตนได้อีกต่อไป
    ก็จะผันความหงุดหงิดนี้ใส่ผู้อื่น แม้ว่าจะไม่ถึงขั้นมีพฤติกรรมรุนแรง แต่จะ
    มีอาการใจร้อน ชอบเถียง และอารมณ์เสียง่าย พฤติกรรมต่อต้านสังคม
    ที่มีผลมาจากการถูกรบกวนโดยเสียงดังนี้ อาจเป็นเรื่องที่ดาดดื่นมากกว่าที่
    เราคาดคิด เนื่องด้วยเสียงดังรบกวนทำให้เกิดความตึงเครียดในสัมพันธภาพ
    ระหว่างบุคคล ทำให้คนนั้นมีความอดทนต่อความหงุดหงิดและความสับสน
    น้อยลง และทำให้คนไม่อยากที่จะช่วยเหลือผู้อื่นอีกต่อไป
      มีงานศึกษาชิ้นหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าในขณะที่คนตัดหญ้ากำลังใช้เครื่องตัดหญ้าเสียงดังอยู่ ผู้คนในละแวกนั้นไม่สนใจ
      ที่จะช่วยคนแขนหัก เก็บกองหนังสือที่เขาทำตก นอกจากนี้ ยังมีรายงานการศึกษาที่ แสดงผลว่าเสียงดังเพิ่มระดับของความขัดแย้ง
      ทางสังคมทั้งที่บ้านและที่ทำงาน
 
      การตรวจวัดระดับเสียง (กรมควบคุมมลพิษ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และ ศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ)
 
      ในทางวิชาการ การตรวจวัดระดับเสียงที่ปฏิบัติโดยทั่วไป คือ วิธีตรวจวัดเสียงแบบพื้นที่ คือ การใช้เครื่องตรวจวัดระดับเสียง
      (sound level meter) ตั้งไว้ที่จุดที่ต้องการตรวจวัด (กลางพื้นที่ที่ต้องการตรวจวัด) ห่างจากกำแพงหรือสิ่งสะท้อนเสียงและพื้น
      ซึ่งจะได้ค่าระดับเสียงเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งของพื้นที่หากต้องการค่าระดับเสียงโดยรวมของทั้งพื้นที่ (ถ้าเป็นพื้นที่กว้าง) ก็ใช้วิธี
      ตั้งเครื่อง sound level meter หลายตัวกระจายตามจุดต่างๆ ของพื้นที่ แล้วนำค่าที่ได้มาเฉลี่ย หากแต่ว่าการตรวจวัดเสียงแบบ
      พื้นที่นั้นไม่สามารถบอกได้ว่าบุคคลหนึ่งที่เข้าสัมผัสเสียง ในพื้นที่นั้นได้รับปริมาณเสียงสะสมเท่าใดในช่วงเวลาที่เขาเข้าใช้พื้นที่
      เพื่อให้ทราบถึงคำตอบนี้จำต้องใช้เครื่องมือที่มีความละเอียดขึ้น คือ เครื่องตรวจวัดปริมาณเสียงสะสมขนาดพกพา
      (personal noise dosimeter) โดยการติดตั้งเครื่องนี้ที่ตัวบุคคล ตลอดเวลาการทำงานจริง ผลที่ได้จะบอกถึงปริมาณเสียงที่บุคคล
      คนหนึ่ง รับเข้าจริงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนผู้นั้น
 
      การได้ยินเสียง (กรมควบคุมมลพิษ)
 
      หูของมนุษย์ทั่วไป สามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่ อยู่ในช่วงประมาณ 20 Hz ถึง 20,000 Hz (20kHz) และระดับความดันเสียง
      (ความดัง) ที่อยู่ในช่วงระหว่าง 0 เดซิเบล (dB) ถึง 140 เดซิเบล ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้มนุษย์เกิดความเจ็บปวด การเพิ่มขึ้นของ
      ความดันเสียงที่ 1 เดซิเบลเป็นค่าที่ต่ำที่สุดที่เราจะสามารถสังเกตความดังที่เพิ่มขึ้นได้ หากแต่ ผู้ฟังจะรู้สึกถึงความดังที่เพิ่มขึ้น
      ได้อย่างชัดเจนต่อเมื่อระดับเสียงเพิ่มขึ้น 8 เดซิเบล
ดังนั้น ถ้ารอบตัวเรามีเสียงรบกวนที่ระดับ 70 เดซิเบลเอ (ริมถนนที่มีการจราจรค่อนข้างคับคั่ง) เราจำต้องพูดด้วยความดังที่
      78 เดซิเบลเอ (ตะโกน) เพื่อให้คู่สนทนาของเราได้ยินสิ่งที่เราพูดอย่างชัดเจน นั่นหมายถึงเราต้องพูดดังกว่าเสียงพูดคุยปกติ
      (เสียงพูดคุยปกติของคนเราอยู่ที่ประมาณ 60 เดซิเบลเอ) ถึง 18 เดซิเบลเอ
      เราอาจสับสนว่า เดซิเบล กับ เดซิเบลเอ ต่างกัน อย่างไร เหตุผลอธิบายมีดังนี้ เนื่องจากธรรมชาติการได้ยินของมนุษย์ไม่ไว
      ต่อความถี่ที่ต่ำมากๆ และความถี่ที่สูงมากๆ ดังนั้นเพื่อให้การวัดเสียงโดยเครื่องมือวัดสอดคล้องและเป็นตัวแทน การได้ยิน
      ของมนุษย์ จึงต้องมีการถ่วงน้ำหนัก (weighting filters) ที่ให้ผลใกล้เคียงกับหูของมนุษย์มากที่สุด คือ การถ่วงน้ำหนักแบบ A
      หรือ "A-weighting" แสดงค่าเป็น เดซิเบลเอ แปลง่ายๆ คือการไม่นับรวมเสียงที่มีความถี่ต่ำมากๆ และสูงมากๆ มาคำนวณนั่นเอง
 
      ระดับเสียง (The League for the Hard of Hearing (LHH) และ Brel & Kjr Sound & Vibration Measurement A/S)
      ตัวอย่าง เพื่อการเปรียบเทียบระดับเสียงจากแหล่งกำเนิดและสภาพแวดล้อมต่างๆ มีดังนี้
      10 dBA เสียงการหายใจปกติ
      20 dBA เสียงกระซิบที่ระยะ 5 ฟุต
      30 dBA เสียงกระซิบเบาๆ
      50 dBA เสียงฝน
      60 dBA เสียงการสนทนาปกติ
      90 dBA เสียงตะโกนคุยกัน
      110 dBA เสียงขุดเจาะถนน
      120 dBA เสียงฟ้าฝ่า
นอกจากนี้ LHH ยังได้ทำการสำรวจและรวบรวมระดับเสียงจากอุปกรณ์และกิจกรรมในการประกอบกิจกรรมในสถานที่ต่างๆ ไว้ดังนี้
บ้าน ที่ทำงาน ภายนอก (แหล่งสันทนาการ)
 50 ตู้เย็น  40 ห้องสมุด, สำนักงานที่เงียบ  40 ย่านที่พักอาศัยที่เงียบสงบ
 50 - 60 เครื่องแปรงฟันไฟฟ้า  50 สำนักงานขนาดใหญ่  70 การจราจรบนทางด่วน
 50 - 75 เครื่องซักผ้า  65 - 95 เครื่องตัดหญ้าไฟฟ้า  85 การจราจรคับคั่ง ร้านอาหาร ที่จอแจ
 50 - 75 เครื่องปรับอากาศ  80 อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้แรงคน  90 รถบรรทุกสิบล้อ เสียงตะโกนคุยกัน
 50 - 80 เครื่องโกนหนวดไฟฟ้า  85 เลื่อย  95 - 110 จักรยานยนต์
 55 เครื่องต้มกาแฟ  90 รถไถดิน  100 รถหิมะ
 55 - 70 เครื่องล้างจาน  90 - 115 รถไฟฟ้าใต้ดิน  100 งานเต้นรำในโรงเรียน วิทยุขนาดกลาง
 60 จักรเย็บผ้า  95 สว่านไฟฟ้า  110 งานเต้น disco
 60 - 85 เครื่องดูดฝุ่น  100 เครื่องจักรในโรงงาน  110 ศูนย์เกมส์ตู้ที่จอแจ
 60 - 95 เครื่องเป่าผม  100 ชั้นเรียนช่างไม้  110 การแสดงดนตรีวงใหญ่
 65 - 80 นาฬิกาปลุก  105 เครื่องเป่าหิมะ  110 แตรรถยนต์
 70 โทรทัศน์  110 เลื่อยไฟฟ้า (ใบเลื่อย)  110 -120 การแสดงดนตรีร็อค
 70 - 80 เครื่องบดเมล็ดกาแฟ  110 เครื่องเป่าใบไม้  112 เสียงวิทยุเทปส่วนบุคคลที่เปิดเสียงสูงสุด
 70 - 95 เครื่องบดขยะ  120 ตอกตะปู  117 การแข่งขันอเมริกันฟุตบอล (ในสนามกีฬา)
 75 - 85 ชักโครก  120 เครื่องจักรหนัก  120 การแสดงดนตรีเครื่องทองเหลือง
 80 สัญญาณเตือนขนมปังสุก  120 เครื่องบินเจ็ท (ที่ลานบิน)  125 เครื่องเสียงรถยนต์ที่ติดตั้งมาจากโรงงาน
 80 กระดิ่งประตู  120 หวอรถพยาบาล  130 การแข่งรถ (รถใช้ทั่วไป ไม่ใช่รถสำหรับแข่ง)
 80 เสียงโทรศัพท์  125 เลื่อยไฟฟ้า (โซ่)  143 แตรจักรยาน
 80 เสียงกาน้ำเดือด  130 เครื่องเจาะถนนไฟฟ้า  150 ประทัดจีน
 80 - 90 เครื่องผสมแป้งเค้ก  130 สัญญาณเตือนภัยทางอากาศ  156 ปืนแก๊ป
 80 - 90 เครื่องปั่นอาหาร  130 เครื่องดนตรี percussion วงใหญ่  157 ลูกโป่งแตก
 110 เสียงเด็กร้อง  140 เครื่องบินกำลังขึ้น  162 พลุ (ที่ระยะห่าง 3 ฟุต)
 110 เสียงบีบของเล่นเด็กใกล้หู  150 เครื่องเจ็ทกำลังขึ้น  163 ปืนยาว
 135 เสียงบีบของเล่นเด็กดังๆ  150 ยิงปืนใหญ่ที่ห่าง 500 ฟุต  166 ปืนสั้น
   180 กระสวยอวกาศออกตัว  170 ปืนลูกปราย
 
                ยิ่งเสียงดังขึ้น ระยะเวลาที่รับฟังได้โดยปลอดภัยยิ่งลดลง โดยไม่เป็นสัดส่วนโดยตรง เสียงที่ดังขึ้น 5 เดซิเบลเอ จะมี
                ระยะเวลาที่รับฟังได้ลดลงมาก (OSHA และ ศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ)
ระดับเสียง ระยะเวลา (ไม่เกิน) ระดับเสียง ระยะเวลา (ไม่เกิน)
 70 dBA (เครื่องซักผ้า)  24 ชั่วโมง  95 dBA (จักรยานยนต์)  4 ชั่วโมง
 85 dBA (ร้านอาหารที่จอแจ)  8 ชั่วโมง  100 dBA (ดิสโก้เธค)  2 ชั่วโมง
 90 dBA (เสียงตะโกนคุยกัน)  6 ชั่วโมง  110 dBA (ศูนย์เกมส์ตู้ที่จอแจ)  30 นาที
 
  มาตรฐานระดับเสียงที่ไม่ทำลายการได้ยิน (WHO, USEPA, OSHA, กรมควบคุมมลพิษ และ ศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ)
      ก่อนที่จะพูดถึงมาตรฐานระดับเสียง ที่ไม่ทำลายการได้ยินเราควรเข้าใจก่อนว่า การสูญเสียการได้ยิน มีสาเหตุมาจาก
      ปัจจัยหลัก 6 ประการ คือ
  1. ระดับความดัน (ความดัง) ของเสียง ที่มีหน่วยวัดเป็นเดซิเบล หรือเดซิเบลเอ เสียงที่ดังมากจะทำลายประสาทหูได้มาก
  2. ระยะเวลาที่สัมผัสเสียง การสัมผัสเสียงดังเป็นระยะเวลานานจะส่งผลเสียมากกว่าการสัมผัสเพียงชั่วคราว
  3. ลักษณะการกระทบของเสียง เสียงที่กระทบไม่เป็นจังหวะ มีความดัง-ค่อยสลับกันไป เช่น เสียงที่มากจากหลายแหล่งกำเนิด
      หรือแม้แต่เสียงดนตรี จะทำลายประสาทหูได้มากกว่าเสียงที่ดังเท่าๆ กันอย่างต่อเนื่อง
  4. ความถี่เสียง ที่มีหน่วยวัดเป็น เฮิรตซ์ (Hz) เสียงที่มีความถี่สูงหรือเสียงแหลมจะทำลายประสาทหูมากกว่าเสียงที่มีความถี่ต่ำ
      (เสียงที่มีความถี่ต่ำส่งผลกระทบต่อการเต้นของหัวใจและการขยายและหดตัวของปอดมากกว่าเสียงที่มีความถี่สูง)
  5. ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง เสียงจะลดความดังลงเมื่อเดินทางผ่านอากาศ ดังนั้นเสียงดังที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ไกลจะมีผลกระทบ
      น้อยกว่าเสียงดังในระดับเท่ากันที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ใกล้กว่า
  6. ลักษณะเฉพาะบุคคล ได้แก่ อายุ โรคหู โรคประจำตัวบางโรค และการได้รับการรักษาด้วย ototoxic หรือสารเคมี ดังนั้น การกำหนด
      มาตรฐานระดับเสียงเพื่อปกป้องการได้ยิน จึงต้องมีการกำหนดทั้งลักษณะของการกำเนิดและการกระทบของเสียง ระดับความดัง
      ของเสียง และระยะเวลาที่เข้าสัมผัส เป็นประเด็นสำคัญ ในประเด็นของความถี่และระยะห่างจากแหล่งกำเนิดนั้น จะใช้เป็น
      ข้อกำหนดในการตั้งเครื่องตรวจวัดในการตรวจวัดเฉพาะแหล่งกำเนิดเสียง เช่น การตรวจวัดระดับเสียงจากท่อไอเสียจักรยานยนต์
      ที่ต้องตั้งเครื่องห่างจากท่อไอเสีย 0.5 เมตร หรือการตรวจวัดระดับเสียงจากลำโพงที่ระยะห่าง 1 เมตร เป็นต้น

      เสียงในสิ่งแวดล้อมทั่วไป คือ เสียงที่บุคคลมิได้มีความประสงค์เฉพาะ ที่จะเข้ารับฟังและมีแหล่งกำเนิดร่วมหลายแหล่ง เช่น เสียงจาก
      ท้องถนน เสียงในสวนสาธารณะ หรือแม้แต่เสียงในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ กรมควบคุม มลพิษกำหนดให้มีค่าได้ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ
      ในทุกขณะเวลา และรับฟังได้นานสุดไม่เกิน 24 ชั่วโมงต่อครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียการได้ยินก่อนวัยอันสมควร

      ทั้งนี้ ประเทศไทย โดยกรมควบคุมมลพิษและกรุงเทพมหานคร ยังได้กำหนดมาตรฐานระดับเสียงจากแหล่งกำเนิดประเภทยานยนต์
      และการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความสงบสุขของประชาชน ไว้ดังนี้

      รถยนต์ให้มีระดับเสียงได้ 85 เดซิเบลเอ เมือวัดในระยะห่าง 7.5 เมตร หรือ 100 เดซิเบลเอ เมื่อวัดในระยะห่าง 0.5 เมตร
      รถจักรยานยนต์ให้มีระดับเสียงได้ 95 เดซิเบลเอ เมือวัดในระยะห่าง 0.5 เมตร
      เรือกลให้มีระดับเสียงได้ 100 เดซิเบลเอ เมือวัดในระยะห่าง 0.5 เมตร
      การก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารจะกระทำให้เกิดเสียงดังเกินกว่า 75 เดซิเบลเอ ระหว่างระยะ 30 เมตรไม่ได้

      สำหรับ เสียงในสถานประกอบการ หรือเสียงที่บุคคลตั้งใจเข้ารับฟังหรือเข้ารับฟังเป็นผลเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ เช่น เสียงใน
      โรงงาน เสียงในโรงภาพยนต์ หรือเสียงในสถานบันเทิงที่มีการแสดงดนตรีสด (รวมถึง การมีดีเจเปิดเพลงสด) เป็นต้น องค์การ
      อนามัยโลก (WHO) กำหนดให้มีค่าได้ไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ ในทุกขณะเวลา และรับฟังได้นานสุดไม่เกิน 24 ชั่วโมงต่อครั้ง
      (ISO กำหนดไว้ที่ 80 เดซิเบลเอ ในขณะที่ประเทศไทย กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ที่ 90 เดซิเบลเอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519)

  มาตรฐานระดับเสียงที่ไม่รบกวนความสงบ (WHO, กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับ ศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ
  และ บ. เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตน์ จำกัด)
      มลพิษทางเสียง ไม่เพียงแต่ทำลายความสามารถการได้ยิน หากแต่ยังทำลายความสงบสุขและคุณภาพชีวิตอันดีของเราอีกด้วย
      จากการศึกษาพบว่าระดับเสียงที่ไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) ในการใช้ชีวิตประจำวัน
      มีระดับความดังอยู่ที่ไม่เกิน 55 เดซิเบลเอ ในเวลากลางวัน และไม่เกิน 45 เดซิเบลเอในเวลากลางคืน องค์การอนามัยโลก (WHO)
      สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (USEPA) ธนาคารโลก (The World Bank) และประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดมาตรฐาน
      ระดับเสียงที่ไม่รบกวน (ในทุกขณะเวลาที่ตรวจวัด) ต่อ กิจกรรมประเภทต่างๆ ไว้ ดังนี้
กิจกรรม หน่วยงาน
The World Bank WHO USEPA Japan
  1. การพักอาศัย (ภายนอกอาคาร)
  - กลางวัน   55 dBA   55 dBA   55 dBA   50 dBA
  - กลางคืน   45 dBA   45 dBA   55 dBA   40 dBA
 
  2. การพักอาศัย (ภายในอาคาร)
  - กลางวัน   -   45 dBA   45 dBA   -
  - กลางคืน   -   35 dBA   45 dBA   -
 
  3. การค้า (พาณิชยกรรม)
  - กลางวัน   65 dBA   70 dBA   -   60 dBA
  - กลางคืน   55 dBA   70 dBA   -   50 dBA
 
  4. การเรียน(อนุบาล)/ความเงียบสงบ
  - ระหว่างเวลาที่มีการเรียนการสอน   -   35 dBA   -   -
  - ระหว่างกิจกรรมในสนามเด็กเล่น   -   55 dBA   -   -
  - กลางวัน   -   -   -   45 dBA
  - กลางคืน   -   -   -   35 dBA
 
                หากในประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานระดับเสียงที่ไม่รบกวนการประกอบกิจกรรมต่างๆ ของคนเรา ไม่ว่าจะ
                เป็นการพักอาศัยหรือการเรียนการสอน
 
      สถานการณ์มลพิษทางเสียง
      แผนที่ระดับเสียงของกรุงเทพมหานครปี พ.ศ. 2544 จัดทำ โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นว่าพื้นที่หนาแน่น
      ใจกลางกรุงเทพมหานคร เช่น เขตบางรัก สาทร ปทุมวัน วัฒนา และคลองเตย ล้วนมีระดับเสียงสูงกว่า 70 เดซิเบลเอ ซึ่งเขตอื่นๆ
      ส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครมีระดับเสียงที่สูงกว่า 55 เดซิเบลเอ มีเพียงเฉพาะเขตชานเมืองรอบนอกเท่านั้นที่ยังมีสภาพสิ่งแวดล้อม
      ทางเสียงในระดับต่ำกว่า 55 เดซิเบลเอ (วัด 24 ชั่วโมง)
การตรวจวัดระดับเสียงโดยกรมควบคุมมลพิษในปี พ.ศ. 2547 จนถึงเดือนตุลาคม ที่สถานีตรวจวัดระดับเสียง 12 สถานีและจุดตรวจ
      วัดชั่วคราว 16 จุด พบว่า ระดับเสียงมีค่าอยู่ในข่วง 64 - 84 เดซิเบลเอ (เฉลี่ยที่ 72 เดซิเบลเอ) และมีวันที่ระดับเสียงเกินมาตรฐาน
      70 เดซิเบลเอ อยู่ร้อยละ 74 ของจำนวนวันทั้งหมดที่ตรวจวัด บริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานทุกวันและบางวันพบระดับเสียง
      สูงกว่า 80 เดซิเบลเอ ได้แก่ ถนนลาดพร้าว ถนนตรีเพชร ถนนเยาวราช ถนนบำรุงเมือง และถนนสุขุมวิท

      เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2547 กองควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร พบว่าที่สถานีรถไฟฟ้ากรุงเทพมหานคร
      5 สถานี ได้แก่ สีลม ศาลาแดง พร้อมพงษ์ สะพานควาย และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีระดับเสียงเกินมาตรฐาน 70 เดซิเบลเอ
      กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ และ บ. เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้ทำการ
      ศึกษามลพิษทางเสียงและการสั่นสะเทือนต่อสุขภาพและการได้ยินที่อาจมีผลเสียต่อประชาชนทั่วไป โดย ตรวจวัดปริมาณเสียง
      สะสม (noise dose) ที่พนักงานแผนกเครื่องเสียงในห้างสรรพสินค้าในปี พ.ศ. 2541 พบว่า 1 ใน 3 ของพนักงานที่ตรวจวัด ได้รับ
      เสียงดังเกินมาตรฐาน นอกจากนี้ ศ.เกียรติคุณ พญ. สุจิตรา ประสานสุข ยังได้ทำการตรวจวัดการได้ยินของประชาชนที่อยู่ริมถนน
      เยาวราชและย่านสะพานควายในปี พ.ศ. 2541 พบว่าแทบจะทุกคนที่เข้ารับการตรวจวัดมีการได้ยินผิดปกติจากเหตุใดก็ตาม
      มีลักษณะการเสียการได้ยินแบบรับเสียงดังมากไปถึงร้อยละ 21.2 และ 19.2 ตามลำดับ โดยที่อายุเฉลี่ยของประชาชนย่าน
      สะพานควาย ที่เข้ารับการตรวจวัดและพบการสูญเสียการได้ยินนั้นอยู่เพียงแค่ 33 ปี (เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานของสำนักงาน
      คุ้มครอง สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (USEPA) เสนอว่าไม่ควรมีใครต้องสูญเสียการได้ยินก่อนอายุ 40 ปี) ยิ่งไปกว่านั้น
      การศึกษายังพบว่าผู้ที่อยู่อาศัยและสัมผัสเสียงดังมากเกินกว่า 5 ปี มีอัตรา การสูญเสียการได้ยินมากกว่าผู้ที่อยู่อาศัยและสัมผัส
      เสียงดังน้อยกว่า 5 ปี ถึง 4.41 เท่า
 
      การต้านภัยเสียง
      เพื่อให้ประชาชนทั่วไป คงการได้ยินที่ดีไว้ไม่ให้สูญเสียหรือเสื่อมไปเร็วเกินกว่าเหตุ จึงควรมีมาตรการป้องกันเสียงดังในสิ่งแวดล้อม
      ในการใช้ชีวิตประจำวัน ให้ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงอันตรายของเสียงดังต่อสุขภาพและการได้ยิน หาทางควบคุม
      เสียงมิให้ดังเกินมาตรฐานที่กำหนด และควรมีการตรวจจับและลงโทษผู้ละเมิดอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยกันปกป้องรักษาการได้ยินที่ดี
      ของพวกเราทุกคน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทารกและเด็กผู้เป็นอนาคตของชาติ กองทุนสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย
      คณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย ศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช องค์กรเพื่อการได้ยิน
      นานาชาติ Tinnitus Awareness Society of Thailand กรุงเทพมหานคร กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และองค์กรและหน่วยงานภาคีต่างๆ ได้ ร่วมกัน
      รณรงค์ต้านภัยเสียง ใคร่ขอความร่วมมือจากท่านให้ "รวมใจ ต้านภัยเสียง" ช่วยกันปกป้องชาวไทย โดยเฉพาะเด็กไทยผู้เป็น
      อนาคตของชาติ จากพิษภัยจากมลพิษทางเสียง
โดยเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการช่วยกันลดเสียงลงในทุกกรณี และช่วยกันดูแลปกป้องบุตรหลานของท่านเองไม่ให้ได้รับฟังเสียงที่ดังเกินไป
      ทั้งโดยตั้งใจและมิได้ตั้งใจเข้ารับฟังเสียงดัง ใช้โทรศัพท์มือถือเมื่อจำเป็นเท่านั้น และปฏิบัติตามวิธี 10 ประการง่ายๆ ดังต่อไปนี้

  1. หมั่นสังเกตเสียงรอบตัวเป็นประจำ หากไม่สามารถพูดคุยด้วยระดับเสียงปกติในระยะห่าง 1 ช่วงแขนได้ แสดงว่า
      เสียงในสถานที่นั้นดังเกินไป
  2. ควบคุมระดับเสียงโทรทัศน์ เครื่องเสียง และโทรศัพท์ไม่ให้ดังเกินไป
  3. ไม่พูดโทรศัพท์หรือส่งเสียงดังรบกวนความสงบของผู้อื่นทั้งในบ้านและในที่สาธารณะ
  4. ตรวจสภาพเครื่องยนต์ของยานพาหนะให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ไม่ปรับแต่งท่อไอเสียให้เกิดเสียงดัง กดแตรเมื่อฉุกเฉินและจำเป็น
      เท่านั้น และลดความเร็วเมื่อขับขี่ยานพาหนะผ่านย่านที่พักอาศัย โรงเรียน ศาสนสถาน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ หรือชุมชน
  5. แจ้งเพื่อนบ้านล่วงหน้าหากต้องซ่อมแซม ต่อเติมบ้าน หรือทำกิจกรรมที่มีเสียงดังรบกวน
  6. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดัง
  7. ช่วยกันดูแลสถานที่ทำงานและสถานที่สาธารณะ ได้แก่ โรงเรียน ศาสนสถาน โรงพยาบาล และสวนสาธารณะ รวมถึง
      ผู้ประกอบการศูนย์การค้า โรงภาพยนต์ ร้านอาหาร และสถานบันเทิง ให้ควบคุมระดับเสียงไม่ให้ดังเกินควร
  8. ตรวจความสามารถการได้ยินเป็นประจำทุกปี
  9. เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการต้านภัยเสียงแก่เพื่อนและญาติ
10. ร้องเรียนเหตุเสียงดังที่ โทร. 1555 (กทม.) หรือ โทร. 1650 (คพ.)
 
      เวลาแห่งความเงียบ (ภายในอาคาร) กองทุนสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย
      นอกจากนี้ ท่านยังสามารถช่วยดูแลให้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ของท่านมีระดับเสียงที่ไม่รบกวนความสงบ ในการประกอบ
      กิจวัตรประจำวันได้อีกด้วย
 
 
เวลา กิจกรรม ระดับเสียง
21.00 - 07.00 น. นอนพักผ่อน 35 dBA
 
07.00 - 09.00 น. เดินทางจากบ้าน 70 dBA
 
09.00 - 17.00 น. ทำงาน 55 dBA
 
17.00 - 19.00 น. เดินทางกลับบ้าน 70 dBA
 
19.00 - 21.00 น. เวลาครอบครัว 45 dBA
 
      กองทุนสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางเสียงและการต้านภัยเสียงท่านมีอยู่ในขณะนี้
      จะเป็นประโยชน์ต่อท่านในการปกป้องทั้งตนเองและบุตรหลานที่รักของท่านจากภัยเสียง และหวังว่าท่านจะช่วยถ่ายทอด
      องค์ความรู้นี้แก่ญาติและเพื่อนพ้องของท่านต่อๆ ไป เพื่อให้ผู้ที่ท่านรักปลอดภัยจากมลพิษทางเสียงและร่วมกัน "ต้านภัยเสียง"
      ทำให้ ประเทศไทย เป็น "ประเทศสุขสงบ น่าอยู่ ปลอดมลพิษทางเสียง" สืบต่อไป
      ดร. สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง ผู้อำนวยการกองทุนสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย


 
© 2000-2008 CopyRight by Ingfah Tech
Tel. 099-4286999  Fax. 095-5515333  Website. https://legacy.business.site/?m=true
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login