หมึกพิมพ์รูปลอกน้ำ สีดำเข้ม
Brand : NTS
Model : NTS-8-BA850
หมึกพิมพ์รูปลอกน้ำ สีดำเข้ม
Last Update : 11:21:03 25/01/2016
กาวพิมพ์หมึกรูปลอกน้ำ
Brand : NTS
Model : NTS-8-BA900
กาวพิมพ์หมึกรูปลอกน้ำ
Last Update : 11:18:07 25/01/2016
หมึกพิมพ์รูปลอกน้ำ สีดำ
Brand : NTS
Model : NTS-8-BA810
หมึกพิมพ์รูปลอกน้ำ สีดำ
Last Update : 11:14:52 25/01/2016
หมึกพิมพ์ลูกลอกน้ำ สีเหลืองสะท้อนแสง
Brand : NTS
Model : NTS-8-BAF311
หมึกพิมพ์ลูกลอกน้ำ สีเหลืองสะท้อนแสง
Last Update : 11:11:19 25/01/2016
หมึกพิมพ์ลูกลอกน้ำ สีส้มสะท้อนแสง
Brand : NTS
Model : NTS-8-BAF411
หมึกพิมพ์ลูกลอกน้ำ สีส้มสะท้อนแสง
Last Update : 11:08:07 25/01/2016

Page View  1858  
News


กระดาษซับลิเมชั่น จริงหรือ..? ที่ค่า Ink Limit มาก.. รับหมึกมาก.. ก็เปลืองหมึกมากสิ..?
Date Time : 19/01/2016 - 31/12/2016
 
 
กระดาษซับลิเมชั่น (Sublimation Paper) มีหลายแบบหรือ..? วัดขนาดกันอย่างไร..?

กระดาษซับลิเมชั่นคือ

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับกระดาษซับลิเมชั่นกันก่อน กระดาษซับลิเมชั่นก็ดูๆ เหมือนจะคล้ายกับกระดาษอาร์ทหรือกระดาษปอนด์โดยทั่วๆ ไปที่เราใช้ในการเขียนหนังสือ วาดรูป หรือพิมพ์รายงานค่ะ แต่จะมีข้อแตกต่างตรงที่กระดาษซับลิเมชั่น จะมีคุณสมบัติพิเศษที่เหนือกว่ากระดาษทั่วไปคือ น้ำหมึกที่พิมพ์ลงบนกระดาษจะสามารถถ่ายเทออกได้ง่ายเมื่อถูกแรงกดและความร้อนค่ะ ซึ่งจะนำมาใช้กับการพิมพ์เสื้อผ้าแบบดิจิตอลทรานส์เฟอร์ หรือเรียกเต็มๆ ว่า Digital Dye Sublimation Transfer ซึ่งเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน สเปกที่เราจะมักได้ยินกันส่วนใหญ่ ก็จะมีการแบ่งตามความหนาแน่นของเนื้อใยกระดาษ เหมือนกับกระดาษโดยทั่วไปค่ะ อย่างที่เคยได้ยินว่า กระดาษ A4  รีมนี้ ขนาด 100 แกรม ส่วนรีมนี้ แค่ 70 แกรม ซึ่งยิ่งเลขแกรมเยอะ ก็จะหนากว่า และราคาก็มักจะเพิ่มขึ้นตามหน่วยแกรมที่เพิ่มขึ้นด้วย

ความหนากแน่นระดาษ

คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่เราจะวัดความหนาแน่นของกระดาษแล้วนำมาเป็นหน่วยในการแบ่งประเภท เพราะเนื่องจากมันบางมากๆ วิธีการที่เราใช้กันก็คือใช้การชั่งน้ำหนักค่ะ ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่ากระดาษหนาย่อมมีน้ำหนักมากกว่ากระดาษบาง โดยการวัดจะวัดน้ำหนักของกระดาษเทียบกับขนาดพื้นที่ 1 ตารางเมตร หน่วยที่ใช้จึงเขียนแบบเต็มๆ เป็นน้ำหนักกระดาษ เช่น กรัมต่อตารางเมตร หรือ g/ sq.m. หรือ gram per square-meter หรือ gsm. หรือเรียกสั้น อย่างที่เราคุ้นเคยกันว่า “แกรม” นี่แหล่ะค่ะ

แล้วจะเลือกกระดาษซับลิเมชั่นอย่างไร..?

อย่างแรกเลย การเลือกใช้กระดาษซับลิเมชั่นนั้น ต้องดูที่ความหนาแน่นของกระดาษ โดยปกติเราจะคุ้นเคยกันอยู่สองสามขนาดค่ะ เช่น กระดาษซับลิเมชั่น ขนาด 105 แกรม  หรือกระดาษซับลิเมชั่นขนาด 100 แกรม ใช่ว่ากระดาษที่หนาแน่นกว่าจะดีกว่าเสมอไป อีกเรื่องที่เราต้องดูและเข้าใจกันคือเรื่องของความสามารถในการรองรับหมึกค่ะ ศัพท์ทางวงการเราจะเรียกกว่า การดูค่า Ink Limit ของกระดาษ แน่นอนอยู่แล้วว่า ถ้ากระบวนการผลิตและคุณภาพของเส้นใยแบบเดียวกัน กระดาษขนาด 105 แกรม ย่อมจะสามารถรองรับปริมาณน้ำหมึกได้มากกว่ากระดาษที่มีขนาด 100 แกรม เนื่องจากมีความหนาแน่นของเนื้อกระดาษอยู่ แต่ใช่ว่ากระดาษที่มีขนาด 105 แกรมเหมือนๆ กันจะรองรับหมึกได้ดีเท่ากันนะคะ เพราะมันจะขึ้นอยู่กับคุณภาพเส้นใยด้วยค่ะ ดังนั้นต้องเลือกให้ดี เพราะกระดาษที่มีความสามารถในการรองรับหมึกได้ดี แน่นอนว่า มีโอกาสในการถ่ายเทหมึกขณะทรานส์เฟอร์ลงเนื้อผ้าได้ดีกว่า ซึ่งเราจะได้สีของงานที่สดกว่า สวยกว่า

ทำไมกระดาษต้องมีค่า Ink Limit มากๆ ถึงดีล่ะ..?

ต้องเข้าใจก่อนว่ายิ่งค่า Ink Limit ของกระดาษมากเท่าไหร่ นั่นก็หมายความว่า โอกาสของความหลากหลายของสีสันบนชิ้นงานของเรายิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ถ้า Ink Limit แค่ 160% เฉดสีที่ผสมกัน ก็ถูกจำกัดไม่ให้ปล่อยค่าสี CMY และ K รวมกันเกิน 160% ถ้าเฉลี่ยก็ได้แค่สีละ 40% เท่านั้นเอง แต่ถ้ากระดาษรับ Ink Limit ได้ถึง 280% เมื่อคิดเฉลี่ยแต่ละสี จะสามารถปล่อยได้มากถึงสีละ 70% ลองนึกดูง่ายๆ แบบนี้ ก็จะเห็นว่า ยิ่งค่า Ink Limit มาก สีสันบนเนื้องานของเราก็จะมี Range ที่กว้างกว่าค่ะ (การวัดว่ากระดาษรับหมึกได้ดีแค่ไหน หรือกี่เปอร์เซนต์ ก็ดูจากที่ว่า พ่นหมึกไปมากเท่าไหร่ ก็ยังคงแห้งด้วยเวลาอันรวดเร็วนั่นเอง) ซึ่งโดยปกติแล้ว ยิ่งเปอร์เซนต์ Ink limit ยิ่งเยอะ กระดาษยิ่งแห้งช้า พูดง่ายๆ ก็คือ กระดาษคุณภาพต่ำ มักจะรองรับหมึกได้ไม่มากนัก เพราะมันจะแฉะง่ายมาก คนพิมพ์งาน คนตัดกระดาษต้องรอให้แห้ง ทั้งเสียเวลาและทำงานยากขึ้นมาก ไม่คุ้มกับรายได้ของเวลาที่หายไป แต่หากต้องการความสดของสีบนผ้าแบบสไตล์วินเทจ ซึ่งผู้ออกแบบมักจะผสมสีในโปรแกรมการออกแบบต่ำมากๆ ที่ค่า Ink Limit ไม่น่าเกิน 200% ก็ไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษคุณภาพที่รองรับค่า Ink Limit ได้มากๆ ค่ะ ประหยัดไปได้อีกเยอะค่ะ

Ink Limit มาก, รับหมึกมาก ก็เปลืองหมึกมากสิ..?

คำถามนี้สร้างให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิด และหลงทางกันมาเยอะมาก แม้กระทั้งผู้ขายกระดาษบางรายยังเข้าใจผิดจนหลงประเด็นเรื่องนี้ก็มีให้เห็นบ่อยๆ ต้องขอบอกว่า จริงๆ แล้วมันมีอีกค่านึงที่เราต้องคำนึงถึงควบคู่ไปด้วยกับความสามารถในการรับหมึกของกระดาษ (Ink Limit) ค่านั้นก็คือ ค่าความสามารถในการถ่ายเทสีลงบนผ้าหรือวัสดุ หลังจากรีดทรานส์เฟอร์ด้วยความร้อนแล้ว กระดาษที่ดีนอกจากต้องรับหมึกได้เยอะแล้ว ต้องถ่ายเทหมึกออกลงสู่ผ้าหรือวัสดุได้เยอะด้วย นั่นหมายความว่า ค่าเปอร์เซนต์การถ่ายเทหมึกต้องสูง ถ้าทางอุดมคติ ก็คือต้องถ่ายเทลงไปจนกระดาษไม่มีสีติดอยู่เลย ในประเทศไทย ห้องแล็ปสีที่สามารถวัดค่าต่างๆ เหล่านี้ได้ มีไม่มากนัก ที่มีก็ไม่สามารถวัดค่าได้ครบทุก parameter จึงทำให้วิเคราห์ได้ไม่สมบูรณ์ บางทีผู้วัดเองก็ต้องใช้การกะประมาณความรู้สึกเอาบ้าง แน่นอนค่ะ ว่ามีโอกาสเพี้ยนและต้องมีการถกเถึยงกันได้สูงมากๆ (เพราะการกะความเข้มหรือความสดของสีด้วยสายตาของแต่ละคนไม่มีทางเหมือนกัน)

คนออกแบบทำงานง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องถูกจำกัดค่า Ink Limit เฉดสีที่ออกแบบจึงหลากหลายกว่า มี Range ที่กว้างกว่า 

ดังนั้นหากเข้าใจไปว่า กระดาษดี ควรรับหมึกน้อยๆ เพื่อไม่ต้องเปลืองปริมาณหมึกนั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมากค่ะ กระดาษที่ดี ต้องรับหมึกได้มาก (เปอร์เซ็นต์ Ink Limit ต้องมากๆ) เพื่อโอกาสในการสร้างเฉดสีของผู้ออกแบบลายกราฟฟิค จะได้มีความหลากหลายกว่า หรือ Range ที่กว้างกว่า และกระดาษต้องไม่แฉะจนทำงานลำบาก นอกจากนั้น เมื่อรับหมึกได้เยอะแล้ว การถ่ายเทหมึกต้องเยอะตามด้วย หลังจากรีดด้วยความร้อนไม่ควรเหลือสีบนกระดาษมากเพราะถ่ายเทออกไปน้อย ซึ่งการออกแบบให้กระดาษรับหมึกได้มากโดยที่ไม่แฉะ และต้องถ่ายเทหมึกได้ดีจนเกือบหมดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก กระดาษคุณภาพดีๆ จึงค่อนข้างจะมีราคาที่สูงกว่ากระดาษทั่วๆ ไปค่ะ

รีดแล้วบางที สีก็ออกมาก บางทีสีก็ออกน้อย ทั้งๆ ที่กระดาษก็ม้วนเดียวกันแท้ๆ..

อย่าลืมนะคะว่า ชนิดหรือประเภทของผ้าเองก็มีผลมาก ที่ทำให้ความสามารถในการถ่ายเทหมึกจากกระดาษนั้นมีอัตราไม่เท่ากันได้ ลองเทียบง่ายๆ ระหว่าง ผ้า TC หรือ TK กับ ผ้าไมโคร ที่มีส่วนผสมของใยสังเคราะห์กับใยธรรมชาติที่ไม่เท่ากันสิคะ ยังไงก็ไม่มีทางรีดออกมาได้เหมือนกันแน่นอน แม้กระทั่งผ้าชนิดเดียวกัน แต่ซื้อมาต่าง lot หรือบางทีม้วนเดียวกันด้วยซ้ำ แต่หัวม้วนกับปลายมัวน ก็ยังให้ได้สีสันออกมาไม่เท่ากันเลยค่ะ ดังนั้นสมมติฐานต่างๆ ควรจะต้องตั้งอยู่ที่ปัจจัย (Factor) เดียวกันทั้งหมด ไล่ตั้งแต่เครื่องพิมพ์ ที่ต้องตั้งโหมดในการพิมพ์เปรียบเทียบให้เหมือนกันทั้งหมด ตัวกระดาษที่ต้องเป็นกระดาษชนิดเดียวกัน เครื่องรีดที่ทั้งอุณหภูมิ เวลา และแรงกด ต้องเท่ากันทุกครั้ง และผ้าที่ใช้ในการเปรียบเทียบควรจะต้องควบคุมให้ดีด้วย เพื่อการวัดที่แม่นยำที่สุด

ใช้กระดาษอาร์ต กระดาษปอนด์ธรรมดา ก็นำมารีดซับลิเมชั่นทรานส์เฟอร์ได้เหมือนกัน…

ใช่ค่ะ สามารถทำได้ แต่คุณภาพของสี หรือความสดของสีของต่ำกว่ากระดาษซับลิเมชั่น และผู้ใช้จะต้องนำมารีดทรานส์เฟอร์ลงบนผ้าทันทีที่พิมพ์เสร็จ หากทิ้งไว้ อัตราการทรานส์เฟอร์ก็จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ค่ะ ซึ่งตรงนี้เอง ผู้ใช้กระดาษซับลิเมชั่นก็ควรจะต้องทราบด้วยว่ากระดาษซับลิเมชั่นแต่ละยี่ห้อเอง ก็มีคุณสมบัติการถ่ายเท หรือการทรานส์เฟอร์ในระยะเวลาที่ต่างกันด้วย กระดาษโดยส่วนใหญ่ สามารถเก็บไว้ได้เป็นสัปดาห์ (ห้ามโดนความชื้น) กระดาษบางยี่ห้อ ทิ้งไว้ได้แค่คืนเดียวก็ต้องรีบมามารีดทรานส์เฟอร์แล้ว ไม่งั้นจะรีดออกได้ไม่สด ซึ่งกระดาษบางตัว ทิ้งไว้ได้เป็นเดือนๆ ก็มีค่ะ

หากเราเข้าใจในเรื่องนี้แล้ว จะไม่เสียเปรียบผู้ขายกระดาษที่ได้แต่นำเสนอกระดาษที่เน้นแต่ราคาถูก แต่จริงๆ แล้วกลับขาดความสามารถด้านการรองรับหมึก และความสามารถในการถ่ายเทหมึกไป บางทีที่เราว่าดีแล้ว แต่อาจจะมีสิ่งที่ดีกว่ามาบดบังเราด้วยข้อเสนอทางด้านราคาที่ถูกกว่าไม่มาก จนทำให้เสียโอกาสดีๆ ไป นอกเสียจากว่าเราเองไม่ได้ต้องการสีสันสดใส ต้องการแค่สีสันระดับกลางๆ เท่านั้น และไม่ได้เน้นความแตกต่างจากตลาด หรือคู่แข่งด้านคุณภาพสี แต่เชื่อเถอะค่ะ จะอย่างไรก็ดี หากเราได้กระดาษที่มีความสามารถกว้างกว่าอยู่ไว้ก่อน ก็จะทำให้เราสามารถสร้างสรรค์งานได้กว้างกว่า และหลากหลายกว่าจริงไหมคะ

ต้องการทดสอบความสามารถในการรองรับหมึก (Ink Limit)  และค่าอื่นๆ ของกระดาษท่าน.. ฟรี

“Fashion Printing Academy” by NTS

[email protected]

08-1904-8285


© 2000-2008 CopyRight by NextTech Screen Supply Co.,Ltd.
Tel. 0-2417-2224-8  Fax. 0-2417-2229-30  Website. www.nexttechscreen.com
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login