ทำไมต้องฆ่าเชื้อในอากาศ
ปัจจุบันจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในอากาศของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นที่สนใจ มากขึ้น
Last Update : 11/08/2014 08:35:31
CleanRooms คืออะไร ?
CleanRooms คือ บริเวณที่มีการควบคุมสิ่งแวดล้อม ความเข้มข้นของอนุภาคแขวนลอยในอากาศ
Last Update : 11/08/2014 08:33:10
เครื่องพ่นแอลกอฮอลล์(Auto)
Brand : นิธีมัย
Model : NTM-08
Last Update : 10:21:49 01/08/2014
เครื่องล้างรองเท้าบูท
Brand : นิธีมัย
Model : NTM-abc01
Last Update : 10:39:03 21/07/2014
เครื่องล้างรองเท้าบูท
Brand : นิธีมัย
Model : NTM-abc02
Last Update : 12:37:00 16/07/2014
เครื่องฉีดโฟมขนาดใหญ่
Brand : นิธีมัย
Model : NTM-02DB
Last Update : 11:13:38 15/07/2014
เครื่องฉีดโฟม
Brand : นิธีมัย
Model : NTM-02D
Last Update : 11:01:22 15/07/2014

Page View  1202  
News


GMP
Date Time : 09/09/2014 - 09/12/2014
 
 

ความหมายของ GMP

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า GMP (Good Manufacturing Practice)
หรือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต หมายถึง ระบบคุณภาพที่สร้างกระบวนการจัดการสุขลักษณะที่ดี
ในการผลิตอาหารของโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการ
เก็บรักษา

ดารณี หมู่ขจรพันธ์ (2540 : 112) สรุปว่า วิธีการที่ดีในการผลิต หรือ GMP หมายถึง แนวทางใน
การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการผลิตให้ผู้ผลิตปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายได้ถูกต้อง เป็นไปตามความ
ต้องการของลูกค้า

สรุป หลักเกณฑ์ วิธีการที่ดีในการผลิต หรือ GMP คือ แนวทางสำหรับผู้ประกอบการใช้ใน
การพัฒนายกระดับมาตรฐานการผลิตอาหารทุกประเภท เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติได้ถูกต้อง มุ่งเน้นความปลอดภัย
คุณภาพ มาตรฐาน และความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก

สัญลักษณGMP

  

สาระสำคัญของ GMP (Good Manufacturing Practice)

ในการดำเนินการเพื่อนำระบบ GMP หรือ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตไปปรับใช้ในการผลิต
อาหารหรือเครื่องดื่มนั้น ต้องคำนึงหรือเตรียมความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (ดุลย์จิรา สุขบุญญสถิตย์. 2540 : 39)

1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต เช่น เรื่องของตัวอาคาร บริเวณหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงต้อง
สะอาด ไม่มีน้ำขังแฉะและสกปรก เป็นต้น
2. เครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์ในการผลิต ต้องไม่ทำจากวัสดุที่มีปฏิกิริยากับอาหารและเป็น
อันตรายต่อผู้บริโภค ไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
3. การควบคุมกระบวนการผลิต เป็นการดำเนินการทุกขั้นตอนต้องมีการควบคุมตามหลัก
สุขาภิบาลที่ดีตั้งแต่การรับชนิดและปริมาณการของผลิตภัณฑ์และวันเดือนปีที่ผลิต โดยเก็บไว้อย่างน้อย 2 ปี
4. การสุขาภิบาล เช่น เรื่องของน้ำใช้ในโรงงาน ห้องส้วม อ่างล้างมือ ภาชนะรองรับขยะมูลฝอย
มีทางระบายน้ำทิ้ง เป็นต้น
5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด เช่น มีการรักษาความสะอาด บำรุง ซ่อมแซมสถานที่
ตัวอาหาร เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ เป็นประจำ และการใช้สารเคมีทำความสะอาดต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข
ที่ปลอดภัย เป็นต้น
6. บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน เช่น ผู้ปฏิบัติงานต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคน่า
รังเกียจ ตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง หรือมีบาดแผลอันอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ มีการ
สวมเสื้อผ้า เสื้อคลุมที่สะอาด ล้างมือก่อนปฏิบัติงาน ใส่ถุงมือไม่สวมเครื่องประดับ สวมหมวกหรือผ้าคลุมผม
มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขลักษณะทั่วไป และความรู้ทั่วไปในการผลิตอาหาร เป็นต้น

6.4.2 ประโยชน์ของการทำ GMP

ดารณี หมู่ขจรพันธ์. (2540 : 28) กล่าวถึงประโยชน์ของการทำ GMP ไว้ว่าเมื่อนำ GMP มาใช้ใน
กระบวนการผลิตแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์ อาทิ

1. ความเป็นเลิศในการแข่งขัน เพราะผลิตภัณฑ์มีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภค
2. สร้างความสะดวกปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติงาน
3. มีการควบคุม และรักษามาตรฐานความสะอาด และถูกสุขลักษณะของโรงงาน
4. มีความสะดวก และง่ายต่อการติดตามข้อมูล
5. ความคล่องตัวในการดูแล การจัดการ และการประเมินงานในโรงงาน
6. ลดของเสียอันเนื่องมาจากการผิดพลาดในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะมีผลให้เกิดเพิ่มผลผลิตให้กับ
หน่วยงาน
7. สร้างทัศนคติที่ดี และถูกต้องแก่ผู้ปฏิบัติงาน

สรุปสาระสำคัญของ GMP

1. สถานที่ตั้งและอาคารการผลิต
2. เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต
3. การควบคุมกระบวนการผลิต
4. การสุขาภิบาล
5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
6. บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน

 

ขอบคุณ

แหล่งที่มา : http://uhost.rmutp.ac.th/tasanee.p/Unit%206/6-4GMP-HACCP.html


© 2000-2008 CopyRight by nithimai
Tel. 0-2722-9363-4  Fax. 0-27226903  Website. www.flussig-nithi.com
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login